การพัฒนาบทเรียนผ่านสมาร์ทโฟนตามแนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ เรื่องการพัฒนาเว็บไซต์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • อุมาพร แก้วทา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ทศพร แสงสว่าง คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

การสอนผ่านสมาร์ทโฟน, แนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัยครั้งนี้เพื่อ 1) หาคุณภาพบทเรียนผ่านสมาร์ทโฟนตามแนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนาเว็บไซต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) หาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้เรียนตามบทเรียนผ่านสมาร์ทโฟน ตามแนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนาเว็บไซต์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/8 โรงเรียนโชคชัยรังสิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ปีการศึกษา 2557 จานวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย บทเรียนผ่านสมาร์ทโฟนตามแนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ เรื่องการพัฒนาเว็บไซต์ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการสอนผ่านเว็บด้วยการเรียนรู้แบบนาตนเอง วิชาคอมพิวเตอร์ สถิติในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีของกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระ (t-test for dependent sample) ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนผ่านสมาร์ทโฟนตามแนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ เรื่องการพัฒนาเว็บไซต์มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์เฉลี่ยเท่ากับ 82.07/80.67 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 10.03 และมีค่า S.D. เท่ากับ 1.56 ค่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 16.13 มีค่า S.D. เท่ากับ 1.63 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนผ่านสมาร์ทโฟนตามรูปแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนาเว็บไซต์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ในระดับมาก

References

กรพินธ์ ศรีสุภา. (2550). การเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานขององค์การที่สัมพันธ์กับองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบทมหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ.

กชพรรณ กันทาทอง. (2556). การสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่าย เรื่อง การสร้างแบบฝึกหัดด้วยโปรแกรมแฟลช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จารุณี ตันติเวชวุฒิกุล. (2549). การพัฒนารูปแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ในโรงงานเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

เจษฎา เมฆะสุวรรณโรจน์. (2549). การพัฒนาระบบ E-Learning แบบผสมผสาน กรณีศึกษาโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เจษฏากร ทองแสวง. (2553). แนวทางการพัฒนาองค์กรสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2545). “E-Learming ทางเลือกใหม่ของการศึกษาในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ”. สืบค้นวันที่ 2 มีนาคม 2558.จาก http://thanompo.edu.cmu.ac.th/ load/journal/CM_news.pdf

ธนินทร์ ระเบียบโพธิ์ และ เอกชัย แซ่จึง. (2556). การพัฒนาระบบจัดการเรียนการสอนแบบM-Learning. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

ธัญนันท์ พงษา. (2556). การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของพนักงานฝ่ายขายและบริการผู้ประกอบการโทรคมนาคม บริษัท ทีโอที จำกัน (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.

นพพร จินตานนท์. (2553). ผลการใช้บทเรียน E-Learning ในการจัดการเรียนรู้วิชาเคมี เรื่องอะตอมและตารางธาตุ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

นฤมล พุ่มฉัตร์. (2551). การพัฒนาพนักงานขององค์กรแห่งการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล.

บูรพา วิถีปัญญา. (2556). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.

ประธาน เสนีวงศ์ ณ อยุธยา. (2546). การพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน เขตการศึกษา 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์.

พรพรรณ เรืองไรรัตนโรจน์. (2554). “การศึกษาไทยทำไม?...จึงนิยมใช้ E-learning”. สืบค้นวันที่ 8 มกราคม 2558. จาก http://school.obec.go.th/banphonchan/document/e-Learning2.pdf

พร้อมพรรณ อุดมสิน. (2544). การวัดและการประเมินผลการเรียนการสอนคณิตศาสตร์. กรมสุขภาพจิต.

พัชนี ธระเสนาและบุริม โอทกานนท์. (2551). “องค์กรแห่งการเรียนรู้ Learning Organization”. สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558. จาก http://portal.nurse.mu.ac. th/fonoffice/adminoffice/kmblog/DocLib1/89.PDF

มนต์ชัย เทียนทอง. (2545). M-Learning แนวทางใหม่ของ E-Learning. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

มาลี สืบกระแส. (2552). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสยาม.

เมตตา เทพประทุน. (2551). ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านโป่งวิทยาคม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ระพินทร์ โพธิ์ศรีศรี. (2549). สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เริงฤดี หนูขา. (2553). การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานสรรพากรพื้นที่สงขลา 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2531). หลักการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ศึกษาพร.

ลือชัย จันทร์โป๊. (2546). “รูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนอาชีวศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย”. สืบค้นวันที่ 23 มกราคม 2558. จาก http://www.kamsondee
dee.com/school/chapter-002/52-2008-12-14-10-31-40/126-2008-12-14-11-09-17?Format=pdf

วรรณะ บุษบา. (2553). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสยาม.

วรัญญา มีฮะ. (2553). การพัฒนาบทเรียนอีเล็กทรอนิกส์ (E-Learning) เรื่องการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2.
วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคาแหง.

วารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปีที่ 10 ฉบับที่ 1. (2549). “ความพร้อมและอุปสรรคสู่การพัฒนา E-Learning ให้ประสบความสำเร็จ”. สืบค้นวันที่ 3 มีนาคม 2558. จาก http://graduate.east.spu.ac.th/graduate/admin/knowledge/A3264.pdf

วารสารบริหารธุรกิจ. (2555). การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ของธุรกิจการให้บริการ. คณะพาณิชยศาสตรและการบัญชี : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2012). “ผลการเรียนแบบร่วมมือที่มีการจัดกลุ่มต่างกันตามระดับความสามารถทางการเรียน ด้วยบทเรียนผ่านเครือข่ายไร้สายบนเครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัล”. สืบค้นวันที่ 16 มีนาคม 2557. จาก http://www.edu.nu.ac.th/2005/Orangization/research/ m-Learning% 20PDA.pdf

ศศกร ไชยคาหาญ. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศันสนีย์ จะสุวรรณ์. (2550). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริชัย นามบุรี. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของผู้เรียน โดยใช้กิจกรรมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และบทเรียนสำเร็จรูปอิเล็กทรอนิกส์ในสภาพแวดล้อมแบบอีเลิร์นนิ่งผ่านโปรแกรม Moodle. (รายงานการวิจัย). สงขลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ศุภาวรรณ ห่วงช้าง. (2556). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาโดยการเรียนจากบทเรียนออนไลน์ที่ใช้รูปแบบการสอนแบบสืบสอบ วิชาฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่องฟิสิกส์นิวเคลียร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.

สังคม ภูมิพันธุ์. (2549). แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning) สำหรับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

สามมิติ สุขบรรจง. (2554). การพัฒนาบทเรียน E-Learning รายวิชาการแสดงและสื่อ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสานักงานนายกรัฐมนตรี. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2554). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2555-2559. ฉบับที่ 11. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ.

สุชาดา สามสวัสดิ์. (2550). e-Learning กับการศึกษาไทย. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุรพงศ์ เอื้อศิริพรฤทธิ์. (2547). การพัฒนาตัวบ่งชี้รวมความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดภาคใต้. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุรศักดิ์ พองพรหม. (2552). การศึกษาการพัฒนาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ตามการรับรู้ ของพนักงานครูในโรงเรียนเทศบาล กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 11. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

หทัยรัตน์ ศรีวิโรจน์. (2556). การสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่าย เรื่องการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

หัสนัย ริยาพันธ์. (2554). การพัฒนาเว็บไซต์ศาลาพุ่มข้าวบิณฑ์ มหาวิทยาสุโขทัยธรรมาธิราช. (การศึกษาทางไกล ประเภทพัฒนาศักยภาพการวิจัย). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อนุชา วิปุลากร. (2552). การพัฒนาสื่อเสริมแบบโมบายเลิร์นนิ่ง เรื่องข้อปฏิบัติในการกินอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดี สำหรับการสอนทางไกลของมหาลัยทักษิณ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อัมพร ปัญญา. (2553). การพัฒนารูปแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคาแหง.

อุมารินทร์ คาญา. (2553). ผลการเรียนรู้ เรื่อง คำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย โดยใช้โปรแกรมบทเรียน และ E-Learning ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการนาตนเองในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Deming, W. Edwards. (2011). “Deming and Excellence Models”. Retrieved November 20, 2015, from http://deming.org

Senge, P.M. (1990). The Art and Practice of the Learning Organization. London : Century Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-12-29