บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรูปแบบเกม เรื่องการบวกและการลบจำนวนเต็ม สำหรับเด็กสมาธิสั้น ระดับประถมศึกษาปีที่ 3
คำสำคัญ:
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรูปแบบเกม, เด็กสมาธิสั้นบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัยครั้งนี้เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรูปแบบเกม เรื่อง การบวกและการลบจำนวนเต็ม สำหรับเด็กสมาธิสั้น ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของเด็กสมาธิสั้น ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรูปแบบเกม เรื่อง การบวกและการลบจำนวนเต็ม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของเด็กสมาธิสั้นที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรูปแบบเกม เรื่อง การบวกและการลบจำนวนเต็ม สำหรับเด็กโรคสมาธิสั้น ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประชากรในการวิจัย เป็นนักเรียนระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนลพบุรีปัญญานุกูลจังหวัดลพบุรี ภาคการศึกษา ที่ 1 ปีการศึกษา 2557 มีนักเรียนจำนวน 18 คน มีวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือในการวิจัย 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรูปแบบเกมเรื่องการบวกและการลบจำนวนเต็ม 2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 3) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t -test dependent samples ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรูปแบบเกม เรื่อง การบวกและลบจำนวนเต็ม สำหรับเด็กสมาธิสั้นระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 83.33/80.15 2) เด็กสมาธิสั้นที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรูปแบบเกม เรื่อง การบวกและการลบจำนวนเต็ม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) เด็กโรคสมาธิสั้น ระดับประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรูปแบบเกม เรื่อง การบวกและการลบจำนวนเต็ม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.11 อยู่ใน ค่าระดับมากค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.89
References
กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : อรุณการพิมพ์.
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวทางการบริหารหลักสูตรและการเรียนการสอน.ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร.
นัฏฐา กองสุวรรณ. (2553). “การวิจัยและพัฒนาแบบฝึกทักษะการคิดคำนวณ”. สืบค้นวันที่ 3 มกราคม 2558. จาก http://www.203.155.220.242/watawut/research_p.html.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ. (2520). ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชาญวิทย์ พรนภดลนนท์. (2545). Autism and the Pervasive Developmental Disorders ๖(ตำราจิตเวชเด็กและวัยรุ่น). กรุงเทพมหานคร : บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์.
ชาญวิทย์ พรนภดล. (2552). การพัฒนาแบบคัดกรองโรคสมาธิสั้นในเด็กและวัยรุ่นไทยอายุระหว่าง 13 - 18 ปี”. สำนักวิจัยแห่งชาติ. ม.ป.ท.
ชาญวิทย์ พรนภพล. (2547). “แนวทางการรักษาโรคสมาธิสั้น”. สืบค้นวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2558.จาก http:// www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e- pl/articledetail.asp?id=909.
ถวัลย์ มาศจรัส. (2546). นวัตกรรมการศึกษาชุด แบบฝึกหัด - แบบฝึกทักษะ เพื่อพัฒนาผู้เรียนและการจัดทำผลงานทางวิชาการอาจารย์ 3 และบุคลากรทางการศึกษา. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร : ธารอักษร.
ดารณี ศักดิ์ศิริผล. (2556). “ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ”. สืบค้นวันที่ 10 มีนาคม 2558. จาก http://www.m.dailynews.co.th /News.do?contentId=147411.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2541). คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิตยา ฤทธิ์โยธี. (2520). การทำและการใช้แบบฝึกทักษะ. (เอกสารเผยแพร่ความรู้ทางการสอนภาษาไทย). กรุงเทพมหานคร : หน่วยศึกษานิเทศ กรมสามัญศึกษา.
นิธิกานต์ ขวัญบุญ. (2549). การพัฒนาเกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สาหรับเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2543). นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวมรวบข้อมูลสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร : จามจุรี.
ปานทอง กุลนาถศิริ. (2540). “การจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21”. สืบค้นวันที่ 10 มิถุนายน 2552. จาก http://www.ipst.ac.th./pri_math/article/Article%20PDF style/A-003pdf.
ปรีชา เนาว์เย็นผล. (2544). กิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การแก้ปัญหาปลายเปิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒประสานมิตร.
ปรีชา เนาว์เย็นผล. (2544). “การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์”. สืบค้นวันที่ 5 มีนาคม 2558.จาก http://www.archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2556/emath40356am_ch2.pdf.
พรพรรณ ขวัญศรี. (2553). “รายงานผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ และการหารจานวนนับ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4”. สืบค้นวันที่ 18 มกราคม 2558. จาก http://www.kroobannok.com/blog/38161.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพลิน ศรีกัลลา. (2553). “การพัฒนาการแต่งโจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3”. สืบค้นวันที่ 30 ธันวาคม 2557. จาก http://
www.203.155.220.242/watawut/research_p.html.
ภัทรา นิคมานนท์. (2543). การประเมินผลการเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : อักษราพิพัฒน์.
โรจนา แสงรุ่งระวี. (2531). ผลสัมฤทธิ์การเขียนสะกดคาด้วยการใช้แบบฝึกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ลักขณา อินทะจักร. (2538). เอกสารการสอนประกอบการสอนวิชาการศึกษา 163 ประสบการณ์ทางวิชาชีพครู 1. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
ล้วน และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2539). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : ชมรมเด็ก.
วีระ ไทยพานิช. (2528). โสตทัศนศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร :มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2545). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย เล่ม 2 วัยรุ่น – วัยสูงอายุ (พิมพ์ครั้งที่ 8) แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศรีทอง มีทาทอง. (2534). การทดลองสอนวิธีสอนคณิตศาสตร์ที่มีกระบวนการสร้างความคิด รวบยอดในเรื่องโจทย์ปัญหาการคูณ การหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
สุกรี รอดโพธิ์ทอง. (2538). การใช้คอมพิวเตอร์ในโรงเรียน. (เอกสารประชุมวิชาการ เรื่อง เทคโนโลยีกับการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวรรณี พุทธิศรี. (2546). ความพึงพอใจในชีวิตคู่ของกลุ่มตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 48(1), 13 - 21.
สมเดช บุญประจักษ์. (2543). การแก้ปัญหา. เอกสารประกอบการอบรม : สถาบันราชภัฎพระนคร.
สมเดช บุญประจักษ์. (2540). การพัฒนาศักยภาพทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
สุวรรณี พุทธิศรี. ( 2548). Attention Disruptive Behavior Disorder ในจิตเวชศาสตร์รามาธิบดี (พิมพ์ครั้งที่ 2). มาโนช หล่อตระกูลและปราโมทย์ สุคนีย์. หน้า 461 - 467.
กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.
อลิสา วัชรสินธุ. (2546). จิตเวชเด็ก. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อานวย เดชชัยศรี. (2544). นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ครุสภา.
เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์. (2545). หลักการแนะแนวคิดสู่การปฏิบัติ. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.
Polya, G. (1957). “ให้ข้อเสนอแนะว่ากรอบความคิดของขั้นตอนแก้ปัญหา”. สืบค้นวันที่ 21 พฤศจิกายน 2557.จาก http://www.202.143.147.252/newsbr2/file_document/
_1320130813093429.pdf.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว