คุณลักษณะของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของ สาขาวิชาการท่องเที่ยว และ สาขาวิชาการโรงแรม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ผู้แต่ง

  • กรกนก อนรรฆธนะกุล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • นนทลี พรธาดาวิทย์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

คุณลักษณะ, บัณฑิต, มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ของสาขาวิชาการท่องเที่ยว และสาขาวิชาการโรงแรม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร/อาจารย์ นักศึกษา และผู้ใช้บัณฑิต 6 ด้าน คือ 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2) ด้านความรู้ 3) ด้านทักษะทางปัญญา 4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6) ด้านทักษะพิสัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม นักศึกษาสาขาวิชาการท่องเที่ยวชั้นปีที่ 4 นักศึกษาสาขาวิชาการโรงแรมชั้นปีที่ 4 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และ ผู้ใช้บัณฑิตจากสถานประกอบการโครงการสหกิจศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญและหาความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหาร/อาจารย์ นักศึกษา และผู้ใช้บัณฑิต เกี่ยวกับคุณลักษณะของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ สาขาวิชาการท่องเที่ยว ภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน (μ=3.88, S.D.=0.64) โดยพบว่า ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (μ=3.98, S.D.=0.63) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม (μ=3.97, S.D.=0.66) ด้านทักษะพิสัย (μ=3.86, S.D.=0.65) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (μ=3.74, S.D.=0.59) ด้านทักษะทางปัญญา (μ=3.73, S.D.=0.70) และ ด้านความรู้ (μ=3.71, S.D.=0.70) ส่วนความคิดเห็นของผู้บริหาร/อาจารย์ นักศึกษา และผู้ใช้บัณฑิต เกี่ยวกับคุณลักษณะของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ สาขาวิชาการโรงแรม ภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยพบว่า ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (μ=4.14, S.D.=0.66) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม (μ=4.08, S.D.=0.66) ด้านทักษะพิสัย (μ=3.98, S.D.=0.70) ด้านทักษะทางปัญญา (μ=3.86, S.D.=0.74) ด้านความรู้ (μ=3.78, S.D.=0.71) และ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (μ=3.74, S.D.=0.64)

References

กฤตยา ฐานุวรภัทร์. (2555). คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สำหรับสถานประกอบการกรณีศึกษา บัณฑิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร คณะสังคมศาสตร์และ ศิลปศำสตร์มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่. (รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). กรอบมำตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). มำตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ.

ฉวีวรรณ แจ้งกิจ และคณะ. (2554). คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของสาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการอาหาร
คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

เนชั่นสุดสัปดาห์ (2555). “อุตสำหกรรมท่องเที่ยวไทยในสำยลมแห่งประชำคมอำเซียน”. สืบค้นวันที่ 24 สิงหาคม 2555. จาก http://www.thai-aec.com/550#ixzz2EpPXzitK.

ประชาชาติธุรกิจ. (2555). “ธุรกิจท่องเที่ยวพร้อมรับ AEC หรือยัง”. สืบค้นวันที่ 24 สิงหาคม 2555. จาก http://www.that-aec.com/612#ixzz2EpQkYgBm

พรณพัชร วิมลทรง. (2555). คุณลักษณะตำมสภำพจริงและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิต ระดับปริญญาตรี ตามความคิดเห็นขององค์กรผู้ใช้บัณฑิตในจังหวัด
นครศรีธรรมราช. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 5(2), 39-52.

มติชล. (2555). “วิชาชีพท่องเที่ยวกับ AEC”. สืบค้นวันที่ 24 สิงหาคม 2555. จาก http://www.that-aec.com/635#ixzz2EpOBumm5

มนูญ สุตีคา. (2545). ลักษณะพึงประสงค์สำหรับผู้สำเร็จการศึกษำระดับปริญญาตรี สาขาวิชาอุตสำหกรรม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คณะศิลปศาสตร์. (2553). หลักสูตรศิลปศำสตรบัณฑิตสาขาวิชาการท่องเที่ยว. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คณะศิลปศาสตร์. (2553). หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการโรงแรม. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. (2554). กำรประเมิน คุณภาพของบัณฑิตตามคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ สาขา
สารสนเทศศาสตร์และ บรรณารักษศาสตร์. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

วรวรรธน์ ศรียาภัย กรรณิการ์ รักษา และคนึงนิจ ศีลรักษ์. (2553). ความต้องการคุณลักษณะบัณฑิตทางภาษาและการสื่อสารของสถานประกอบการ. (รายงานผลการวิจัย).
กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

ศิริวรรณ สิริพุทไธวรรณ. (2547). คุณลักษณะของบัณฑิตที่มีผลต่อการจ้างงานของบัณฑิตมหาวิทยาลัยทักษิณ. (รายงานผลการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สมชัย ศรีสุทธิยากร. (2555). “กำรคิดเชิงบวก”. สืบค้นวันที่ 24 สิงหาคม 2555. จาก http://www.somcaisr.com

สุบิน ยุระรัช และคณะ. (2554). ความพร้อมในการพัฒนาบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทยเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. (รายงานผลการวิจัย).
กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ อุดมศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

อรรัตน์ โลหิตนาวี และคณะ. (2554). คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามความคาดหวังของผู้ใช้บัณฑิต หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม คณะเภสัช
ศำสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. (รายงานการวิจัย). พะเยา: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อัจฉราวรรณ ณ สงขลา และคณะ. (2554). คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษำแห่งชำติ ของสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการสินค้า
แฟชั่น คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีรำชมงคลพระนคร. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Skiert, Malgorzata and Buchta, Krystyna. (2013). “The Vocational Skills of Graduates with A Degree in Tourism and Recreation in the Context of The National Qualifications Framework”. Polish Journal of Sport and Tourism. vol20, 147-152.

Spowart, Jane. (2006). “Hotel School Students’ Views of their Preparation for Work-Integrated Learning: An Explortory Study”. Asia-Pacific Journal of
Cooperative Education. 7(2), 10-15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-12-29