การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะเรื่อง การวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ล่วงหน้าและแผนควบคุมกระบวนการผลิตเพื่อลดจานวนงานเสียในกระบวนการรับงานใหม่
คำสำคัญ:
หลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะ, การวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ล่วงหน้าบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาที่เกิดจากกระบวนการรับงานใหม่ 2) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะ และ 3) ศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะ เรื่องการวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ล่วงหน้าและแผนควบคุมกระบวนการผลิตเพื่อลดจานวนงานเสียในกระบวนการรับงานใหม่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หัวหน้างาน/แผนก วิศวกรพนักงานบริษัทโกลด์ เพรส อินดัสตรี จากัด จานวน 16 คน ระเบียบวิธีวิจัย เป็นการวิจัยและพัฒนาที่ใช้การสำรวจและแผนทดลองแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามสารวจปัญหาที่เกิดจากกระบวนการรับงานใหม่ แบบประเมินความสอดคล้องและความเหมาะสมของหลักสูตรฝึกอบรม แบบประเมินสมรรถนะหลังการฝึกอบรม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่าปัญหาที่เกิดกระบวนการรับงานใหม่ของบริษัทโกลด์ เพรส อินดัสตรี จากัด ที่มีความถี่สูงสุด ได้แก่ ปัญหา ที่เกี่ยวกับแผนควบคุมการผลิต (Advanced Product Quality Planning) หน่วยสมรรถนะการวางแผนควบคุมการผลิตนี้ประกอบสมรรถนะย่อย (Element of Competency) 4 หน่วย ดังนี้ 1) ศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิต 2) วิเคราะห์ความเสี่ยงในการผลิต 3) วางแผนงานควบคุมการผลิตชิ้นงานตัวอย่าง และ 4) ติดตามการดำเนินตามแผนงานควบคุมการผลิต หลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะมีความสอดคล้องกับมาตรฐานสมรรถนะในระดับมาก และหลักสูตรฝึกอบรม มีประสิทธิภาพเนื่องจากผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกคนตามเกณฑ์สมรรถนะตามที่กำหนดไว้มากกว่าร้อยละ 80 ขึ้นไป
References
เกศริน มนูญผล. (2544). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อเสริมสมรรถภาพด้านการจัดทาหนังสือเสริมประสบการณ์ที่สอดคล้องกับท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
โกลด์ เพรส อินดัสตรี. (2556). “ข้อมูลพื้นฐานของบริษัท โกลด์ เพรส อินดัสตรี จำกัด”. สืบค้นวันที่ 15 สิงหาคม 2556. จาก http://www.tsgoldpress.com
คณิต เฉลยจรรยา. (2544). การพัฒนาหลักสูตรการบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วมใน อุตสาหกรรมผลิต. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
จะเด็ด เปาโสภา. (2547). การเขียนมาตรฐานสมรรถนะ. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์วิจัยและ พัฒนาอาชีวศึกษา กรมอาชีวศึกษา.
ไพโรจน์ สถิรยากร. (2547). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมเทคนิคการสอนงานปฏิบัติใน หน่วยงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
มนูญ ชัยพันธ์. (2548). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเรื่องการสร้างหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการสำหรับครูประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ยุทธพงษ์ กัยวรรณ์. (2543). พื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
สมยศ เจตน์เจริญรักษ์. (2540). การสร้างหลักสูตรการฝึกอบรมเกี่ยวกับการบริหารงานในอุตสาหกรรมการผลิต. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สุภาพร พิศาลบุตร และยงยุทธ เกษสาคร. (2545). การพัฒนาบุคคลและการฝึกอบรม (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : วี. เจ. พริ้นติ้ง.
สุรพล ชามาตย์. (2554). การพัฒนาชุดฝึกอบรมสาหรับพนักงานในอุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อ แก้ไขปัญหาการเกิดของเสียจากกระบวนการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์. วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สวาสดิ์ ตอพล. (2546). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมหัวหน้าคณะวิชาสังกัดกรมอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว