ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรกับการจัดการความรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
วัฒนธรรมองค์กร, การจัดการความรู้บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับวัฒนธรรมองค์กรของสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4 จังหวัดปทุมธานี 2) ระดับการจัดการความรู้ของ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4 จังหวัดปทุมธานีและ 3) ความสัมพันธ์ ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรกับการจัดการความรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 4 จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและ ครูผู้สอน จำนวน 310 คน จากสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับวัฒนธรรมองค์กรของสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4 จังหวัดปทุมธานี พบว่า อยู่ในระดับมาก และมีการ ปฏิบัติสูงสุด 2) การจัดการความรู้อยู่ในระดับมาก 3) วัฒนธรรมองค์กรกับการจัดการความรู้ของ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4 จังหวัดปทุมธานี มีความสัมพันธ์ กันอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เกษสุรินทร จักรคำ. (2555). วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.
วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม.
บุญดี บุญญากิจ และคณะ. (2549). การจัดการความรู้ จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดเคชั่น.
. (2547). การจัดการความรู้ จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : จิรวัฒน์ เอ็กซ์เพรส.
วรวรรณ วาณิชย์เจริญชัย. (2555). “การพัฒนาระบบการจัดการความรู้”. สืบค้นวันที่ 25 กันยายน 2555. จาก http://www.ns.mahidol.ac.th.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2540). ความขัดแย้งการบริหารเพื่อความสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร : ต้นอ้อ แกรมมี่.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), p.608.
Mok, M., & Flynn, M. (1998). “Effect of Catholic School Culture on students’ Achievement in the Higher School Certificate Examination : A Multilevel
Path Analysis”. Journal of Education Psychology, 18 (4), 409-431.
Patterson, J.L., S. C. Purkey and J. V. Parker. (1986). Productive School Systems for a Non-Rational World. Virginia : ACSD, 50-51
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว