ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์กับการบริหารงานงบประมาณ แบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2
คำสำคัญ:
การบริหารเชิงกลยุทธ์, การบริหารงานงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารเชิงกลยุทธ์ 2) ระดับการบริหารงานงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์กับการบริหารงานงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา และหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงบประมาณของสถานศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำนวน 157 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารเชิงกลยุทธ์ อยู่ในระดับมากทั้งโดยรวมและรายด้าน 2) ระดับการบริหารงานงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ อยู่ในระดับมากทั้งโดยรวมและรายด้านและ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์กับการบริหารงานงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2มีความสัมพันธ์กันสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
References
______. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
______. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภาลาดพร้าว.
______. (2553). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552 - 2561). กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.
______. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ.2555 – พ.ศ.2559. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.
จันทนา แห่งตระกูล. (2549). “ความสัมพันธ์ระหว่างระบบบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน กับการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดสมุทรปราการ”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.
บุญทัย สุระมุล. (2550). “การบริหารงบประมาณในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 2”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี.
พิมลพรรณ ดุษิยามี. (2550). “การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน”. สารนิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พรรณนภา อิงพงษ์พันธ์. (2554). “การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับผลการปฏิบัติงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิจิตรา อุดมทรัพย์. (2552). “การศึกษาการบริหารงานงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2”. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์.
สุนีย์พร แคล้วปลอดทุกข์ และ สุชาดา รัชชุกูล. (2552). “ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นาเชิงกลยุทธ์ ของหัวหน้าหอผู้ป่วยการบริหารผลการปฏิบัติงานของกลุ่มงานการพยาบาลกับประสิทธิผล ของหอผู้ป่วยตามการรับรู้ ของพยาบาลประจาการโรงพยาบาลทั่วไป”. วารสารกองการพยาบาล. 36 (2) พฤษภาคม-สิงหาคม.
สมปอง สุวรรณเพชร. (2551). “ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นาและวัฒนธรรมองค์การกับการบริหาร เชิงกลยุทธ์ : กรณีศึกษา กลุ่มเรือนจาเขต 3”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.
สมยศ บุญเจริญ. (2553). “ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กับการบริหารเชิงกลยุทธ์ในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ราชบุรี เขต 1”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. (2556). แผนปฏิบัติการประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2556. ปทุมธานี : สพป.ปทุมธานี เขต 2.
สำนักงบประมาณ. (2556). เอกสารประกอบการประชุมการมอบนโยบายสำหรับขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ประเทศและการชี้แจงการจัดทางบประมาณรายจ่ายประจาปีงบประมาณ พ.ศ.2557. กรุเทพมหานคร : สำนักงบประมาณ.
Cronbach, L .J. (1970). Essentials of Psychological Testing. (3rd ed.). New York : Harper & Row
David, F.R.. (1997). Strategic Management. New Jersey: Prentice-Hall Inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว