ผลสัมฤทธิ์ในการอ่านจับใจความด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (ซี ไอ อาร์ ซี) ผสานวิธีคิดไตร่ตรอง 3 นาทีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ, วิธีคิดไตร่ตรอง 3 นาที, การอ่านจับใจความบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และ 2) เปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน วัศรีคัคณางค์จังหวัดปทุมธานี จำนวน 44 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม แล้วนำมาทดสอบ วัดความสามารถในการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทยก่อนเรียน โดยนาผลคะแนนจากการทดสอบมาแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม คละความสามารถ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (ซี ไอ อาร์ ซี) ผสานวิธีคิดไตร่ตรอง 3 นาที แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทย แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาไทย และแบบบันทึกภาคสนามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ในการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05และ 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มทดลองมีเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาไทยสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร : แดเน็กซ์อินเตอร์ คอร์ปอเรชั่น.
ญาดา หอมเกษร. (2552). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยและเจตคติต่อวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่เรียนรู้โดยรูปแบบCIRC กับกลุ่มการเรียนรู้ตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ทรงศรี สรณสถาพร และอัจฉราพร จันทรศร. (2556). “กิจกรรมเสริมการอ่าน” . สืบค้นวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2556. จาก http://www.la.mahidol.ac.th
ทวี ท่อแก้ว และอบรม สินภิบาล. (2517). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โพธิ์สามต้น.
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พูลศรี กิจเฉลา. (2544). การศึกษาความเข้าใจในการอ่าน ความสามารถในการเขียนภาษาไทย และความสนใจในการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบ CIRC กับการสอนตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ภาวนา ดาวเรือง. (2550). การพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจและการเขียน สะกดคายากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มาลา พานอังกาบ. (2550). การเปรียบเทียบผลการเรียนในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน CIRC กับการสอนตามคู่มือการจัดการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2545). เทคนิคการจัดการเรียนการสอนและการนิเทศ. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิริวรรณ เสนา. (2541). การศึกษาคุณลักษณะของเนื้อความสำหรับฝึกคัดลายมือที่ส่งผลต่อ พัฒนาการด้านลายมือและความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2542). ทางสู่ความสำเร็จในการสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. (2556). ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน (NT) ปีการศึกษา 2555. ปทุมธานี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปทุมธานี เขต 2.
สำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ.(2555). “ประกาศผลสอบ O-Net” . สืบค้นวันที่ 27 มีนาคม 2555. จาก http: //www.niets.or.th
แสนประเสริฐ ปานเนียม. (2552). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านและการเขียนของ นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตที่สอนด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค CIRC กับวิธีสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อุมาพร ทัศนุรักษ์. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยและความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนอ่านแบบ CIRC กับการสอนอ่านตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว