ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความขัดแย้งกับการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาใน อำเภอหนองหงส์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3

ผู้แต่ง

  • ศรวิษฐา มูลมณี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • พรทิพย์ สุริยาชัยวัฒนะ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

การบริหารความขัดแย้ง, การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารความขัดแย้งของสถานศึกษา2) ระดับการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความขัดแย้งกับการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอหนองหงส์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการและครูผู้สอนในสถานศึกษาในอำเภอหนองหงส์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 3 จำนวน 181 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารความขัดแย้งของสถานศึกษา 2) ระดับการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และ 3) ระดับความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความขัดแย้งของสถานศึกษากับการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา ในอำเภอหนองหงส์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร : องค์การรับส่งสินค้าและวัสดุภัณฑ์.

. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. (2545). กรุงเทพมหานคร : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กษิภณ ชินวงศ์. (2550). การใช้อานาจของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

คมกริช วงศาโรจน์. (2549). การใช้อานาจของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2550). ผู้บริหารกับการจัดการความขัดแย้ง. กรุงเทพมหานคร : นักบริหาร.

ธราธร ตันวิพงษ์ตระกูล. (2557). ความต้องการพัฒนาของผู้บริหารในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นรินทร์ องค์อินทรี. (2549). การจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร : เอ็กซเปอร์เน็ท.

ปารมี ทองสุกใส. (2554). “อานาจกับการบริหารองค์กร”. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2554. จาก http// www.google.co.th

ประกาทิพย์ ผาสุก. (2551). การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พิพิธ สุวรรณสิงห์. (2550). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

วันชัย วัฒนศัพท์. (2547). ความขัดแย้ง หลักการและเครื่องมือการแก้ปัญหา. ขอนแก่น : ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ท.

วิเชียร วิทยอุดม. (2547). ภาวะผู้นำฉบับก้าวล้ำยุค. กรุงเทพมหานคร : ธีระฟิล์มและไซเท็คซ์.

สีหนาท ดวงตาทิพย์. (2552). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3.(2556) แผนปฏิบัติราชการประจำปี.บุรีรัมย์ : สานักงาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. (2545). กรุงเทพมหานคร :บริษัทพริกหวานกราฟฟิต จากัด.

ศนินุช สวัสดิโกศล. (2549). กลยุทธ์หยุดความขัดแย้ง = Conflict resolution. กรุงเทพมหานคร : แมคกรอ-ฮิล.

อาทิตย์ ชลพันธุ์. (2552). ศึกษาและเปรียบเทียบวิธีการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Bernard, C. (1984). The functions of the Executive. Cambridge: Harvard University Press.

Yulk, G. (2006). Leadership in Organizations. (6th ed.). USA : Prentice Hall, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-06-26