ปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาในการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาในการอ่านภาษาอังกฤษ, ปัญหาในการอ่านภาษาอังกฤษ, ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษบทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาในการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ 2) ศึกษาปัญหาและปัจจัยของปัญหา ในการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอ คณะบริหารธุรกิจ และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะละ 50 คน รวมทั้งสิ้น 350 คน โดยใช้หลักการสุ่มแบบแบ่งขั้น และการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือแบบทดสอบการอ่านเพื่อความเข้าใจ และแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาและปัจจัย ของปัญหาในการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษา ผลการศึกษาพบว่า 1) นักศึกษาของมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ สามารถทำแบบทดสอบการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ได้ค่าเฉลี่ยคะแนนรวมทั้งหมดเท่ากับ 1.94 คิดเป็นร้อยละ 38.8 โดยนักศึกษาทำคะแนนในส่วน ของการหาคำอ้างอิงได้มากที่สุด และการหาหัวเรื่องเป็นทักษะที่นักศึกษาทำคะแนนได้น้อยที่สุด 2) นักศึกษามีปัญหาและปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาในการอ่านภาษาอังกฤษที่แตกต่างกันในแต่ละคณะ สำหรับปัญหาในการอ่านภาษาอังกฤษพบว่า ปัญหาในด้านคำศัพท์เป็นปัญหาที่พบมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านความเข้าใจ ด้านไวยากรณ์ และด้านประสบการณ์ส่วนตัว ตามลำดับ สำหรับ ปัจจัยที่พบว่ามีผลต่อปัญหาในการอ่านภาษาอังกฤษมากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้านการเรียนการสอน ปัจจัยส่วนตัวของนักศึกษา และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางบ้าน ตามลำดับ
References
ปานใจ ยังเจิมจันทร์. (2537). ความสามารถในการอนุมานจากบทอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษาในจังหวัดปัตตานี. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พัชรินทร์ ทะวะระ. (2551). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สังกัด
กรุงเทพมหานคร กลุ่มพระนครเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มนต์ชัย ปาณธูป. (2551). “ปัจจัยอะไรบ้างที่สนับสนุนให้กิจกรรมการอ่านสู่ความสำเร็จ”. สืบค้นวันที่ 4 ธันวาคม 2554. จากhttp://www.gotoknow.org/
ระวิวรรณ ไชยวสุ. (2531). ปัญหาการเรียนการสอนของนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษระดับปริญญาตรีในคณะศึกษาศาสตร์และคุรุศาสตร์ในมหาวิทยาลัยปิด กรุงเทพมหานคร.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุนีย์ สันหมุด. (2552). “ปัญ หาด้านการอ่าน”. สืบค้นวันที่ 28 สิงหาคม 2554. จากhttp://www.gotoknow.org/
สมุทร เซ็นเชาวนิช. (2545). เทคนิคการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อัจฉรา วิมลเกียรติ. (2547). การพัฒนาความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน โดยวิธีเรียนแบบร่วมมือประเภทการค้นคว้าภายในกลุ่ม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Blanchard, K. ( 2005) . Ready to Read Now : A Skills–Based Reader. Pearson Education, Inc., 2005.
Dekker, N. ( 1988) . “ The Effect of Writing in the Expressive Mode Upon the Reading Achievement of Remedial Readers in the Secondary School” .
Dissertation Abstract International, 46 (01) : 111-A
Delaney, N. (1985). “ The Effect of Strategy Trainning on Comprehension of Implicit and Explicit Information in Familiar and Unfamiliar Expository
Test”. Dissertation Abstract International, 46 (01) : 111-A
Goodman, Kenneth S. (1970). Reading : Process and Program. Illinois : National Council of Teacher of English.
Searls, D.T., Mead, N.A., and Ward, B. (1985). “ The Relationship of Students’ Reading Skills to TV Watching, Leisure Time Reading, and Homework”.
Journal of Reading, 29 (01) : 158-162.
Smith, F. & Richard J. (1976). Teaching Children to Read. Cambridge : Cambridge University Press
Richek, M. & Caldwell. ( 1996) . Reading Problems Assessment and Teaching Strategies. Boston : Allyn & Bacon.
Robinson, H.M. (1946). Why Pupils Fail in Reading. Chicago : University of Chicago.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว