ปัจจัยที่สัมพันธ์กับสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30

ผู้แต่ง

  • วิไลวรรณ จันน้ำใส คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • นนทลี พรธาดาวิทย์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

สมรรถนะการวิจัย, ห้องเรียน, ครูมัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยด้านลักษณะบุคคลที่มีต่อการวิจัยใน ชั้นเรียนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 2) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อการวิจัยในชั้นเรียนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะบุคคล ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และสมรรถนะ การวิจัยในชั้นเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบสหสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 จำ น วน 320 ค น โดยใช้วิธีการสุ่ม แบ บ แบ่งชั้น เค รื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านลักษณะบุคคล ด้านความรู้การ วิจัยในชั้นเรียน ทัศนคติการวิจัยในชั้นเรียน และแรงจูงใจการวิจัยในชั้นเรียน ที่มีต่อการวิจัยใน ชั้นเรียนของครูมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ด้านนโยบายและการสนับสนุน ที่มีต่อการวิจัยในชั้นเรียนของครูมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และภาระงาน/เวลางานที่มีต่อการ ทำวิจัยในชั้นเรียนของครูมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3) นโยบายและการสนับสนุนมีความสัมพันธ์ ในทางบวกกับสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนภาระ งาน/เวลางานมีความสัมพันธ์ในทางบวก กับสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครูอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05

References

เกสร กุณาใหม่. (2548). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษาพะเยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ดรุณี อาจปรุ. (2543). ความต้องการเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญมี ปะพะวะ. (2541). บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่มีต่อการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดหนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ลัสดา กองคำ. (2541). การศึกษาสภาพการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิไลวรรณ สมบูรณ์. (2543). ปัญหาและความต้องการการวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดหนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุนันท์ บัณทุพา. (2540). สภาพแวดล้อมการฝึกอบรมวิจัย ปัจจัยที่เอื้อต่อการทำวิจัยและคุณลักษณะของนักวิจัยที่ส่งผลต่อการผลติภาพการวิจัยของมหาบัณฑิตคณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-12-29