การศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการ เทศบาลตำบลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ศิริกาญจน์ ดุจจานุทัศน์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจต่อการบริการ, บริการของเทศบาล, เทศบาลตำบล

บทคัดย่อ

การศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี พ.ศ.2558 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ช่วงวันที่มารับบริการ และช่วงเวลาที่มารับบริการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ประชาชนที่เป็นผู้มารับบริการโดยตรงหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่มารับบริการ จากเทศบาลตำบลลำลูกกา ประจำปี พ.ศ.2558 ได้มาโดยการสุ่มวิธีแบบแบ่งชั้น จำนวนทั้งสิ้น 400 คน ซึ่งผู้วิจัยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยทำการศึกษางานบริการที่เป็นภารกิจจำนวน 5 งาน ได้แก่ งานทะเบียนราษฎร์ งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก งานการจัดเก็บขยะมูลฝอย งานการให้บริการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเอดส์ และ ผู้พิการ และงานการกวาดถนนและเก็บกิ่งใบไม้ในที่สาธารณะ ในขอบเขตการบริการ 4 ด้าน คือ ด้านขั้นตอนการให้บริการ ด้านช่องทางการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งนี้ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลลำลูกกาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.18, S.D. = 0.7) และเมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ช่วงวันที่มารับบริการ และช่วงเวลาที่มารับบริการ พบว่า ผู้รับบริการที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกันจะมีระดับความพึงพอใจในการให้บริการของเทศบาลลำลูกกาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเทศบาลตำบลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี สามารถนำผลการศึกษาวิจัยนี้เป็นปัจจัยนำเข้าที่สำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการดำเนินงานและบริหารจัดการการบริการให้มีประสิทธิภาพต่อไป

References

เกียรติศักดิ์ พันธ์ลำเจียก และ รินรดี ปาปะใน. (2549). ความพึงพอใจของผู้รับบริการจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลบึงคำพร้อย. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2536). การให้บริการแบบครบวงจรแนวทางการให้บริการเชิงรุกของกรมการปกครอง. เทศบาล‎88, 30 (กรกฎาคม), 11 -14.

พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2537). ระบบการทุจริตเลือกตั้ง. ศูนย์วิจัยและผลิตตำรา สถาบันเทคโนโลยีสังคม (เกริก).

สุจิตรา ชำนิวิกย์กรณ์. (2535). ภาคบริการ. สำนักวิจัย คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : สำนักบรรณสารการพัฒนา.

สมิต สัชฌุกร (2542). การต้อนรับและบริการที่เป็นเลิศ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สายธาร.

สุรชัย รัชตประทาน. (2546). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการของสำนักงานที่ดิน จังหวัดเชียงใหม่ สาขาสารภี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2555). การปกครองส่วนท้องถิ่นและอำนาจหน้าที่ของกำนันและผู้ใหญ่บ้าน. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30