การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ เสริมการเรียนรู้ กรณีศึกษาโรงเรียนปราโมชวิทยารามอินทรา

ผู้แต่ง

  • ธนภรณ์ ก้องเสียง คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • รินรดี พรวิริยะสกุล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง, การทดลองวิทยาศาสตร์เสริมการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นสูง 2) ศึกษาความคงทนด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ร่วมกิจกรรมโดยใช้ กิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์เสริมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนปราโมชวิทยารามอินทราจำนวน 50 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง แบบวัดความรู้พื้นฐานและแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test dependent ผลการวิจัยพบว่า ผลการวัดความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์เสริมการเรียนรู้มีพื้นฐาน หลังเข้าร่วมกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ย 18.21 และเมื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้ร่วมกิจกรรมมีระดับความพึงพอใจ ในกิจกรรมเรื่องอุปกรณ์การทดลอง และวิทยากรมากที่สุด

References

กรมวิชาการ. (2545). การจัดหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : กรมวิชาการกระทรวงการศึกษาธิการ.

กรรณิการ์ ไผทฉันท์. (2541). ผลการใช้ชุดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมตามวิธีการวิจัยในการพัฒนาทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมตามวิธีการวิจัยในกิจกรรมชุมนุมวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). คู่มือหนังสือกิจกรรมวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ช่วงชั้นที่ 2 ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 - 6. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กุสุมา พันธ์ไหล. (2553). ผลของการสอนโดยการใช้ของเล่น ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จินตนา คำสอนจิก. (2553). การพัฒนาชุดการสอนเรื่องสารเคมีในชีวิตประจำวันโดยใช้อนิเมชั่นเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จิราภรณ์ น้อยน้ำใส. (2551). การเปรียบเทียบผลการเรียนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น โดยใช้เทคนิคการรู้คิด ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดที่ผิดพลาดเกี่ยวกับมโนมติชีววิทยา และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีผลการเรียนทางวิทยาศาสตร์ต่างกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จิราภา เดือดขุนทด. (2554). การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์โดยใช้กิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3. (วิจัยในชั้นเรียน). ชลบุรี : โรงเรียนเทศบาล 2 วัดกลางทุมมาวาส.

Carin,A.A. (1997). Teaching modern science. (7th ed.). New Jersey: Pretice – Hall.

Eisenkraft,Arthur. (2003). Expanding the 5E Model. Science Education, 5(6), 57 - 59.

Padilla, Michael J. (1990). Science Expoer. Massachusetts: Prentice Hall.

Roth,Woff Michal.; Roychoudhury,Anita. (1993). The Development of Science Process Skills Authentic Contexts. Journal of Research in Science Teaching, 30(2). 127 - 152.

Thomson, Jeffrey Roland. (1992). Secondary School Students understanding of Science Process: An Interview study. (Master Abstracts International).

Wade,Wilna Jean. (1995). The Effects of Tradional Instruction Laboratory Experiences and computer – Assisted. Instruction on Ninth. (Grade Biology Students Science Process Skill Achievement).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-28