การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (LMS) เรื่อง การอ่านจับใจความ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ผู้แต่ง

  • โสภณ สาทรสัมฤทธิ์ผล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์, LMS

บทคัดย่อ

การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (LMS) เรื่อง การอ่านจับใจความมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาประสิทธิภาพของรูปแบบระบบการจัดการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (LMS) เรื่อง การอ่านจับใจความ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนด้วยระบบการจัดการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (LMS) และเพื่อศึกษาความรับผิดชอบต่อการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนจากรูปแบบระบบการจัดการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (LMS) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีภาคปกติ กลุ่ม 3 จำนวน 62 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบง่ายด้วยวิธีจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบระบบการจัดการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (LMS) เรื่อง การอ่านจับใจความ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสิทธิภาพที่ 82.76/82.62 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อแล้วพบว่า นักศึกษามีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนทุกข้อ ผลการศึกษาความรับผิดชอบต่อการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่เรียนจากรูปแบบระบบการจัดการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (LMS) ในภาพรวม พบว่า นักศึกษามีความรับผิดชอบอยู่ในระดับดี

References

กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). “สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย”. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กองเทพ เคลือบพณิชกุล. (2542). การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

กัญญารัตน์ อู่ตะเภา. (2544). บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตวิชาสถิติเบื้องต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ครรชิต มาลัยวงศ์. (2542). “Web Technology ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี (TIAC)”. สืบค้นวันที่ 4 ตุลาคม 2557. จาก http://www.cybertools. biotech.or.th.

จุฬาออนไลน์. (2555). “องค์ประกอบของ LMS”. สืบค้นวันที่ 8 มิถุนายน 2555. จาก http://www.tsu.ac.th/cc/wbl-training/Lms.html.

ชฎิล เกษมสันต์. (2555). “การจัดการเรียนการสอนแบบ e-Learning”. สืบค้นวันที่ 8 มิถุนายน 2555. จาก http://www.tsu.ac.th/cc/wbL_training/Lms.html.

ฐะปะนีย์ นาครทรรพ. (2547). ปัญหาการสอนภาษาไทยในปัจจุบัน. (เอกสารประกอบคำบรรยาย แผนกวิชามัธยมศึกษา). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ตวงแสง ณ นคร. (2549). การใช้สื่อการสอน. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2545). หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นารีรัตน์ สุวรรณวารี. (2543). พฤติกรรมจริยธรรมในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นิติ วิทยาวิโรจน์. (2555). คู่มือการใช้งาน RMUTT MOODLE (ผู้สอน). (เอกสารสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ). ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

บุญเรือง เนียมหอม. (2540). การพัฒนาระบบการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ตในระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิชาการ, กรม. (2544). คู่มือการพัฒนาสื่อการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ.

วิพุธ โสภวงศ์. (2524). หนังสือเรียน การอ่านและพิจารณาวรรณกรรม ท 021. กรุงเทพมหานคร : องค์การค้าของคุรุสภา.

วิลาสินี นาคสุข. (2549). ผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียต่างกัน 2 รูปแบบ ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนในการจำและความพึงพอใจของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ที่มีความสามารถทางการเรียนภาษาไทยต่างกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศุภชัย สุขะนินทร์ และ กรกนก วงศ์พานิช. (2555). “ระบบบริหารการเรียน LMS”. สืบค้นวันที่ 25 เมษายน 2555. จาก http://www.tsu.ac.th/cc/wbL_training/e-learning.html.

สมพร สุขะ. (2545). การพัฒนารูปแบบของเว็บเพจเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

อรนุช ลิมตศิริ. (2551). นวัตกรรมและเทคโนโลยีการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อัญชลี โพธิ์ทอง และ อัปษรศรี ปลอดเปลี่ยว. (2543). นวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาชีวิตและสังคม. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-28