ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของพนักงานบริษัท ในเขตนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดระยอง
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, พนักงาน, นิคมอุตสาหกรรมจังหวัดระยองบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของพนักงานบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานทุกระดับชั้นที่ทำงานบริษัทในเขตนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดระยองจำนวน 400 คน จากประชากรทั้งหมด 307,433 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi Square, t-test และ ANOVA วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย พบว่า พนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 56.00 ซึ่งมีอายุอยู่ระหว่าง 25 - 35 ปี คิดเป็นร้อยละ 42.50 และมีลักษณะเวลาทำงานเต็มเวลา คิดเป็นร้อยละ 64.50 ปัจจัยโดยภาพรวมมีผลกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 3.76) เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ตามสถานภาพทั่วไป พบว่ากลุ่มอายุและลักษณะเวลาทำงาน แสดงความคิดเห็นแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
รองศาสตาจารย์ ดร. ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 15). นนทบุรี : เอส.อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
วัชฎา เพ็ญศรีสิริกุล. (2554). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของบุคคลวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สไนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ. (2559). “กลุ่มโรค NCDs โรคที่คุณสร้างเอง”. สืบค้นวันที่ 25 พฤศจิกายน 2559. จาก https://www.thaihealth.or.th/microsite/categories/5/ncds/1/173/176-กลุ่มโรค+NCDs.html
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). “สถิติสาธารณสุขแห่งชาติ 2558”. สืบค้นวันที่ 25 พฤศจิกายน 2559. จาก https://www.bps.moph.go.th/
Elisangela, F. and others. (2014). “Alteration in eating habits among shift workers of a poultry processing plant in southern Brazil”. สืบค้นวันที่ 1 ธันวาคม 2559. จาก https://www.scielo.br/
Green, L. and Krueter, M. (2005). Health Promotion Planning An Education Approach. 3eded. Toronto : Mayfield Publishing Company.
Pirincci, E. and others. (2008). Factors affecting health-promoting behaviors in academic staff. Public Health Journal 122.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว