การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของพนักงานในโรงงาน กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ จังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • กชพร ศรีสุวรรณ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • เอกชัย ชุ่มแจ่ม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • สิริพงษ์ เมืองสง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ศักร์ระภีร์ วรวัฒนะปริญญา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

ปัจจัย, พฤติกรรมการออกกำลังกาย, อุตสาหกรรมยานยนต์

บทคัดย่อ

การวิจัยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของพนักงานในโรงงานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ จังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานในโรงงานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ จังหวัดระยอง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสำรวจ จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, Chi Square, t-test, Anova วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้โปรแกรม SPSS และกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของพนักงานในโรงงานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ จังหวัดระยอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตามรายปัจจัยแล้ว พบว่า ปัจจัยเสริมแรงหรือปัจจัยสนับสนุน มีความสำคัญมาเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมา ได้แก่ ปัจจัยเอื้อ และน้อยที่สุด ได้แก่ ปัจจัยนำหรือปัจจัยโน้มน้าว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม, กระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). “สถิติโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ ขยายกิจการและเลิกกิจการ ในรอบปี 2551 - 2558 และสถิติสะสมของโรงงานอุตสาหกรรม ณ สิ้นปีนั้น ๆ”. สืบค้นวันที่ 21 มกราคม 2560. จาก http://www.diw.go.th/hawk/content.php?mode=spss59

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพมหานคร : เอสเอ พริ้นติ้งแอนด์แมสโปรดักส์.

ผู้ช่วยศาสตราจรย์ ว่าที่ ร.ต. สมนึก แก้ววิไล (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกฎลังกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (งานวิจัยทุนสนับสนุนงบประมาณเงินผลประโยชน์ พ.ศ. 2552). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สุพรรณี กาวีละ, ธราดล เก่งการพานิช, มณฑา เก่งกาพานิช, ศรัญญา เบญจกุล. (2558). พฤติกรรมการออกกำลังกายของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนสุดา สยามบรมราชกุมารี, องค์การสมาชิกของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย. (2599). “สถิติโรคเรื้อรัง NCD”. สืบค้นวันที่ 25 มกราคม 2560. สืบค้นhttp://www.dmthai.org/Statistic.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ, กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). “จำนวนผู้ป่วย/ สาเหตุการตาย”. สืบค้นวันที่ 15 ธันวาคม 2559. จาก service.nso.go.th/nso/web/statseries/tables/22100_Rayong/in46-55.xls.

B. K. Pedersen, B. Saltin. (2015). Exercise as medicine – evidence for prescribing exercise as therapy in 26 different chronic diseases. Scandinavia journal of medicine & science in sports. Rigshospitalet University of Copenhagen Denmark.

Li-Xia Zhu, Shuk-Ching Ho, and Thomas KS Wong. (2013). Effectiveness of health education programs on exercise behavior among patients with heart disease: a systematic review and meta-analysis. Journal of Evidence-Based Medicine The Hong Kong Polytechnic University, Hong Kong, China.

John Wiley, and Other (2015). Interventions for promoting habitual exercise in people living with and beyond cancer (Review). Retrieved September 24, 2013 from DOI: 10.1002/14651858.CD010192.

Terri, D. (2006). Exercise can it help you think. Dissertation Abstracts International, 49,3677-B. (UMI No. 19606591).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-29