กลยุทธ์การสื่อสารสุขภาพออนไลน์ผ่านสื่อเฟซบุ๊กของโรงพยาบาลพญาไท
คำสำคัญ:
กลยุทธ์การสื่อสารสุขภาพ, การสื่อสารสุขภาพออนไลน์, รูปแบบสื่อสุขภาพ, เนื้อหาสื่อสุขภาพ, โรงพยาบาลพญาไทบทคัดย่อ
การสื่อสารสุขภาพออนไลน์ผ่านสื่อเฟซบุ๊ก เป็นการนำเสนอเนื้อหาสุขภาพที่สามารถนำไป ประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน โดยใช้กลยุทธ์การสื่อสารสุขภาพผ่านสื่อเฟซบุ๊กแฟนเพจ โดยแบ่งออก เป็น 2 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์การสื่อสารเนื้อหา (Content) และกลยุทธ์รูปแบบการสื่อสาร (Forms) ทำให้กลุ่มเป้าหมายเข้ามามีปฏิสัมพันธ์และมีผู้เข้ารับบริการหน้าใหม่เพิ่มขึ้นจริง ด้วยการใช้กลยุทธ์รูปแบบ การนำเสนอด้วยการใช้ภาษาที่สื่อสารได้อย่างชัดเจนตรงไปตรงมา และไม่ใช้คำยากที่ให้กลุ่มเป้าหมายตีความ ผิด ๆ ไม่ใช้คำศัพท์ทางการแพทย์ให้สับสน ผู้รับสารอ่านเข้าใจได้ในทันที ด้วยเนื้อหาสุขภาพที่มีความถูกต้อง พร้อมรูปภาพประกอบที่ถูกลิขสิทธิ์มานำเสนอผ่านสื่อเฟซบุ๊กของโรงพยาบาล สร้างความน่าเชื่อถือให้กับ โรงพยาบาล มีแหล่งอ้างอิงที่ถูกต้องด้วยการซื้อลิขสิทธิ์อย่างถูกกฎหมายและมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้าง ความเชื่อมั่นให้เกิดกับกลุ่มเป้าหมาย ให้เกิดทัศนะคติเชิงบวก จนนำไปสู่การการพัฒนาระบบสุขภาพ ของสังคมและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในเรื่องสุขภาพต่อไปได้
References
คณิศร รักจิตร. (2557). กลยุทธ์บนเว็บเพื่อการสื่อสารสุขภาพท้องถิ่นกับประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
จิรายุ กาศเจริญ. (2551). การรณรงค์โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโรงพยาบาลในจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชลลดา ศรีมงคล. (2552). การประเมินผลการรับชมรายการอโรคาปาร์ตี้ของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานคร. รายงานโครงการเฉพาะบุคคลปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชัยวัฒน์ ล้วนคงสมจิตร. (2550). การสื่อสารในเครือข่ายของโครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ มูลนิธิหมอชาวบ้าน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐ จินาเฟย. (2555). ความพึงพอใจต่อบริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาล กรณีศึกษาโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นนทญา หงส์รัตน์. (2550). กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรในโรงเรียนชาวนา จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภานนท์ คุ้มสุภา. (2558). แนวทางการออกแบบสารและเลือกใช้สื่อเพื่อการสื่อสารการตลาดของกิจการเพื่อสังคม. สืบค้นจาก http://www.academia.edu/16115125/.
มลินี สมภพเจริญ. (2551). สถานการณ์การสื่อสาร. วารสารสุขศึกษา, 31(110), 1 - 11.
ศศิวิมล ชูแก้ว. (2555). การศึกษารูปแบบและเนื้อหาการสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
Ahlqvist, T., Back, A., Halonen, M., & Heinonen, S. (2008) Social media roadmaps exploring the futures triggered by social media. Finland : Vtt Tiedotteita.
Pettersson, R. (2012). Introduction to message design. Journal of Visual Literacy, 31(2), 93 - 104.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว