ปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
คำสำคัญ:
แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์, สมรรถนะผู้บริหารบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพ-มหานครและปริมณฑล มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาลักษณะของปัจจัย แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การจัดการความรู้ และการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษากรุงเทพมหานครและปริมณฑล (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมของปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ที่มีอิทธิพลการจัดการความรู้ และการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษากรุงเทพมหานครและปริมณฑล (3) เพื่อสร้างแบบจำลองปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา โดยทดสอบแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (Causal Relation) ระหว่างตัวแปรพยากรณ์ ได้แก่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์การจัดการความรู้และการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้กับตัวแปรเกณฑ์คือสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษากรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ประกอบด้วย 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 1 เพื่อใช้ทดสอบแบบจาลองความสัมพันธ์ตามสมมติฐาน จานวน 278 คน กลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 2เพื่อใช้ทดสอบยืนยันแบบจำลองความสัมพันธ์ใหม่ (Trimmed Model) จำนวน 278 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ (1) ปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (= 4.55) ปัจจัยการจัดการความรู้ (= 4.56) ปัจจัยการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (= 4.56) และปัจจัยสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา (= 4.54) (2) ตัวแปรที่มีค่าอิทธิพลรวมต่อสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาตัวแปรพยากรณ์ที่ส่งผลต่อสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาได้รับอิทธิพลทางตรงจากปัจจัยการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ การจัดการความรู้ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีค่าเท่ากับ .243, .230 และ .227 ได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การจัดการความรู้ การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ .190, .178 และ .109 ตามลำดับ
References
จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2555). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เกรียงไกรยศ พันธุ์ไทย. (2552). อิทธิพลของพฤติกรรมผู้นำ วัฒนธรรมการทำงานในองค์การและกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน รัฐวิสาหกิจ. ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
เตือนใจ ดลประสิทธิ์. (2553). การพัฒนาระบบการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิยรัตน์ กาญจนะจิตรา. (2550). การจัดการความรู้ในระบบราชการไทย: กรณีศึกษากรมส่งเสริมการเกษตร กรมอนามัย และกรมสุขภาพจิต. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. (2546). หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. ราชกิจจานุเบกษา, 120, 100ก, 1-16.
เมเยอร์, พี. เจ. และสเล็กธา, อาร์. (2550). หลัก 5 ประการสู่การเป็นผู้นา (จุมพจน์ เชื้อสาย, ผู้แปล). กรุงเทพมหานคร: ออฟเซ็ทเพรส.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
วรรณา พิสิฐศุภมิตร. (2550). แบบของผู้นาที่มีสมรรถนะในระบบราชการพลเรือนไทย. ดุษฎีนิพนธ์-ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วิเชียร วิทยอุดม. (2551). สมรรถนะของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศักดิ์ ภิรมย์, ประเทศ ดวงพัตรา, องอาจ โกมลมรรค, สินีนาถ สุดใจนาค และคนอื่นๆ. (2550). ปัจจัยทางการบริหารที่เกื้อหนุนต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). รายงานประจำปี 2554. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2553). คู่มือคาอธิบายตัวชี้วัดการพัฒนา คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
Boyatzis, R. E., Goleman, D., & Rhee, K. (2000). Clustering competence in emotional intelligence: Insights from the Emotional Competence Inventory (ECI). Retrieved August 21, 2013, from http://www.eiconsortium.org.
Debowski, S. (2006). Knowledge Management. Queensland, Australia: John Wiley & Sons.
Garvin, D. A., Edmondson, A., & Gino, F.(2008).“Is yours a learning organization?.” Harvard Business Review, 86(3), 2-10.
Locke, E. A. (1976). “The nature and causes of job satisfaction. In M. D. Dunnette (Ed.).” Handbook of industrial and organizational psychology (pp.1, 297-1,349). Chicago : Rand McNally.
Marquardt, M. J. (2002). Building the learning organization: Mastering the 5 elements for corporate learning. (2nd ed.). Palo Alto, CA: Davies-Black.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว