เครื่องช่วยเรียนรู้อักษรเบรลล์ด้วยการสัมผัสและเสียง

ผู้แต่ง

  • ธนากร อินตา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • ยุทธนา เพิ่มอุตสาห์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • อนุสรณ์ เราเท่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • ดิเรก มณีวรรณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

คำสำคัญ:

อักษรเบรลล์, เครื่องช่วยเรียนรู้, เรียนรู้ผ่านการสัมผัสและเสียง

บทคัดย่อ

อักษรเบรลล์เป็นอักษรสำหรับคนตาบอด มีลักษณะเป็นจุดนูนเล็ก ๆ ใน 1 ช่องประกอบด้วยจุด 6 ตำแหน่ง นำมาจัดสลับกันไปมาเป็นรหัสแทนอักษร สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ โน้ตดนตรี โดยอักษรเบรลล์จะใช้เบรลเลอร์ พิมพ์ลงบนกระดาษหนา ในการอ่านอักษรเบรลล์ต้องอ่านผ่านการสัมผัสที่ปลายนิ้ว รวมถึงการเรียนรู้การอ่านอักษรเบรลล์ต้องมีใช้สื่อเรียนรู้พร้อมครูผู้ช่วยกำกับ นวัตกรรมนี้เป็นการประยุกต์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และวงจรอิเล็กทรอนิกส์มาช่วยสร้างเครื่องช่วยเรียนรู้การอ่านอักษรเบรลล์ ผ่านการสัมผัสที่ปลายนิ้ว และฝ่ามือ พร้อมมีการส่งเสียงระบุอักษรประกอบเพื่อลดการใช้ครูผู้ช่วยสอน และเพิ่มความน่าสนใจ การพัฒนาพบว่าชุดการเรียนรู้มีเนื้อหาที่ประกอบไปด้วย พยัญชนะไทย สระวรรณยุกต์ไทย อักษรภาษาอังกฤษ และตัวเลขอารบิก อีกทั้งขีดความสารถของเครื่องรองรับการแสดงตัวอักษรแบบเล่นซ้ำ หรือ เดินหน้า ย้อนกลับ ตามความต้องการของผู้ใช้นอกจากนั้นมีการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ ด้านการออกแบบ ตัวโครงสร้างชิ้นงาน และการนำไปใช้งาน อยู่ในเกณฑ์ดีมาก ได้ระดับคะแนน 4.42, 4.48 และ 4.78 มีการนาไปทดสอบใช้กับกลุ่มตัวอย่างผู้พิการทางสายตาจำนวน 10 คน อยู่ในเกณฑ์ดีมาก ที่ระดับคะแนน 4.58

References

วิโรจน์ กิจติศัพท์. (2547)."เครื่องฝึกจำอักษรเบรลล์ภาษาไทย". วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาบัญฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

พรพิมล ใจบุญ. (2554). "การพัฒนาอุปกรณ์แสดงผลสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยอักษร". ปริญญานิพนธ์วิทยาการคอมพิวเตอร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ยศวรรธน์ วิญญารัตน์. (2554). "การพัฒนำระบบฝังตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ของอุปกรณ์แสดงผลอักษร เบรลล์". ปริญญานิพนธ์ วิทยาการคอมพิวเตอร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

คณะกรรมการกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการใช้อักษรเบรลล์แห่งชาติ. (2553). "คู่มือมาตรฐานเล่มนี้เพื่อใช้เป็นอักษรเบรลล์". กรุงเทพ : กระทรวงศึกษาธิการ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27