การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียตามแนวทฤษฏีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Adobe Flash CS6 เบื้องต้น

Main Article Content

อรยา ม่วงมนตรี
สวียา สุรมณี

บทคัดย่อ

   การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียตามแนวทฤษฏีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Adobe Flash CS6 เบื้องต้น 2) หาคุณภาพของบทเรียนมัลติมีเดียตามแนวทฤษฏีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Adobe Flash CS6 เบื้องต้น 3) หาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดียตามแนวทฤษฏีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Adobe Flash CS6 เบื้องต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/12 โรงเรียนสมเด็จพิทยาคม อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ บทเรียนมัลติมีเดียตามแนวทฤษฏีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Adobe Flash CS6 เบื้องต้น แบบประเมินคุณภาพบทเรียนมัลติมีเดีย และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้บทเรียนมัลติมีเดียตามแนวทฤษฏีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Adobe Flash CS6 เบื้องต้น5 ที่นำเสนอเนื้อหาด้วยข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดิทัศน์ และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนตลอดบทเรียน 2) คุณภาพของบทเรียนมัลติมีเดียตามแนวทฤษฏีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Adobe Flash CS6 เบื้องต้น โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนมัลติมีเดียตามแนวทฤษฏีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Adobe Flash CS6 เบื้องต้น โดยรวมในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ม่วงมนตรี อ., & สุรมณี ส. (2018). การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียตามแนวทฤษฏีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Adobe Flash CS6 เบื้องต้น. วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ", 1(1), 33–39. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/152615
บท
บทความวิจัย

References

ณัฐนี วัฒนชัยยิ่งยง. (2554). บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบวิดีโอสาธิตร่วมกับการเรียนรู้แบบเน้นปฏิบัติตามแนวทฤษฏีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเรื่องการใช้งานโปรแกรมตารางงานเบื้องต้น
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ทวีป แซ่ฉิ่ม. (2556). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฏี Constructionism เพื่อพัฒนาทักษะการ เขียน โปรแกรมApp Inventor สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. สาขา
วิทยาศาสตร์ศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร,พิษณุโลก.
ปานใจ โพธิ์หล้า. (2556). คุณครูผู้สอนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. สัมภาษณ์.
SoltaniEbrahim. (1995). Student Preconception, Mental and Actual Achievement from Text, Vidiotape and Interractive Multimedia. Dissertation Abstracts International.