การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

จันทร์เพ็ญ ไชยนาแพง
รศรงค์ พัฒนาอนุสรณ์
ลาวัณย์ ดุลยชาติ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) หาคุณภาพของบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 3) หาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนห้วยผึ้งพิทยา ตำบลนิคมห้วยผึ้ง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 40 คนการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ บทเรียนมัลติมีเดีย  สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบประเมินคุณภาพบทเรียนมัลติมีเดียเรื่อง ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดีย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษาพบว่า 1) ได้บทเรียนมัลติมีเดีย ตามแนวทฤษฎีของกาเย่ เรื่องลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) คุณภาพบทเรียนอยู่ในระดับมาก และ 3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยบทเรียนมัลติมีเดีย อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ไชยนาแพง จ., พัฒนาอนุสรณ์ ร., & ดุลยชาติ ล. (2018). การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ", 1(2), 8–14. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/152654
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กระทรวงศึกษาธิการ.
กิตฎา วันนา. (2553). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตสาขาการพัฒนาพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี, จังหวัดอุบลราชธานี.
ณัฐกร สงคราม. (2554). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐพร ทองมอญ. (2551). บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้นสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนคลองบ้านพร้าว. สารนิพนธ์กศ.ม.(เทคโนโลยีการศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.
ทฤษฎีการเรียนรู้ โรเบิร์ต กาเย่. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา: http://uthailand.wordpress.com (สืบค้นเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2558).
นาวิน คงรักษา. (2553). บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องระบบเครือข่ายท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
พิสณุฟองศรี. (2554). วิจัยชั้นเรียนหลักการและเทคนิคปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 9 กรุงเทพฯ:บัณฑิตด่านสุทราการพิมพ์จำกัด.
มนต์ชัยเทียนทอง. (2540). บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(เอกสารประกอบการฝึกอบรม). กรุงเทพฯ : ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือบัณฑิตด่านสุทราการพิมพ์จำกัด.
มนชัย เทียนทอง. (2545). การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาคอมพิวเตอร์คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
เรไรรัตน์ ดาวศรี. (2549). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ความน่าจะเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตมหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิจารณ์ สงกรานต์. (2552). บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง พอยเตอร์และลิงค์ลิสต์. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
ศิริวรรณ มีสารพันธ์. (2556). กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสารสนเทศ. โรงเรียนห้วยผึ้งพิทยาตำบลนิคมห้วยผึ้ง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์. สัมภาษณ์.
Traynor, P.L. (2006 June 3). Effects of computer –assisted-instruction on difference learners [online]. Available: http//www.achievecttect.com/pdf/CS JP.pdf.
Oden, Robin E. (August, 1982). An Assessment of the Effectiveness of Computer Assisted Instruction on Altering teacher Behavior and Achievement and Attitudes of Ninth Grade Pre Algebra Mathematics Students. Dissertation Abstracts International.43:355-A.
Pararish, R.J. (1995). The Development and Testing of a Computer Assisted Instructional Program to Teach Music Fundamentals to Adult No musicians. Dissertation Abstracts International.194:3444-AUnited States Department of Defense Training Document. Pamphlet 350-30. August, 1975.