การศึกษาผลสัมฤทธิ์สื่อมัลติมิเดียกลุ่มสาระคณิตศาสตร์เรื่องเรขาคณิตโดยการใช้เทคโนโลยี ความจริงเสริมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การพัฒนาสื่อมัลติมิเดียกลุ่มสาระคณิตศาสตร์เรื่องเรขาคณิตโดยการใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพ 70/70 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สื่อ มัลติมิเดียกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ เรื่องเรขาคณิตโดยการใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) หาค่าดัชนีประสิทธิผลในการเรียนของผู้เรียนที่มีต่อสื่อมัลติมิเดียกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ เรื่อง เรขาคณิตโดยการใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) สื่อมัลติมีเดียกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์กลุ่มสาระคณิตศาสตร์เรื่องเรขาคณิตโดยการใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 25 คน คัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง 10 คน สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test
ผลการทดลองพบว่า ประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียเท่ากับ 76.00/91.00 ค่าเฉลี่ยหลังสอนสูงกว่าก่อนสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับร้อยละ 56.45
Article Details
References
ยนต์ภาคสนามมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์. กรุงเทพ : ครุสภาลาดพร้าว.
ทรงพล ขันชัย. (2554). การพัฒนาแบบจำลองเพื่อการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมกรณีศึกษาแบบหลายมาร์คเกอร์.
วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นิศารัตน์ ศิลปะเดช. (2546). เอกสารประกอบการสอนระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏธนบุรี.
พิสุทธา อารีราษฎร์. (2550). การพัฒนาซอฟท์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
รัชฎาวรรณ นิ่มนวล. (2554). การเรียนแบบร่วมมือบนระบบเครือข่ายสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง
และการจัดการความรู้. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชานวัตกรรมการเรียนรู้ทางเทคโนโลยี
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ศิลา วงศ์สุนทรพจน์. (2554). ระบบการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ด้วยความจริงเสริม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต
สาขาวิชาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนามมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
สมนึก ภัททิยธนี. (2545). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
สุรส เนื่องชมภู. (2549). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดียวิชาคณิตศาสตร์เรื่องพื้นฐานทางเรขาคณิต.
วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาหลักสูตรและการสอนบัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.