การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียเรื่อง การสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วย โปรแกรม Adobe Flash CS6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

วรรณ์ทนา สิงห์ชัย
นคินทร พัฒนชัย

บทคัดย่อ

              การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง การสร้างภาพเคลื่อน ไหวด้วยโปรแกรม Adobe Flash CS6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) หาคุณภาพบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง การสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยโปรแกรม Adobe Flash CS6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผล และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง การสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยโปรแกรม Adobe Flash CS6 สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 จำนวน 30 คน โรงเรียนห้วยผึ้งพิทยา อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการจับสลากเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง การสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยโปรแกรม Adobe Flash CS6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แบบประเมินคุณภาพบทเรียนมัลติมีเดีย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ


              ผลการศึกษาพบว่า 1) ได้บทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง การสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยโปรแกรม Adobe Flash CS6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มี 12 องค์ประกอบ 2) คุณภาพบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่องการสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยโปรแกรม Adobe Flash CS6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในระดับมากที่สุด  3) ค่าดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง การสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยโปรแกรม Adobe Flash CS6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.63 หรือ ร้อยละ 63 4) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง การสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยโปรแกรม Adobe Flash CS6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ณัฐกร สงคราม. (2554 : 162-163). หนังสือการออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนพ.
เผชิญ กิจระการ. ดัชนีประสิทธิผลเอกสารประกอบการสอน.หน้า 1 – 3. ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2546.
พันจันทร์ ธนวัฒนเสถียร. สร้างงานมัลติมีเดียแอนิเมชั่นด้วย Flash CS6. พิมพ์ครั้งที่ 3 .กรุงเทพฯ :รีไวว่า,2557.
พิสุทธา อารีราษฏร์. (2551). การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2541). ทฤษฏีการเรียนรู้กระบวนการปฏิบัติ. คณะศึกษาศาสตร์.
วรัชญ์ ดลกุล. (2556). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง ระบบสุริยะของเราเราชั้นมัธยมศึกษาปี 4 ด้วยเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือรูปแบบแข่งขันเป็นทีม (TGT). วิทยานิพนธ์ปริญญา
วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วลัยลักษณ์ ภักดีกำจร และอัญญปารย์ ศิลปนิลมาลย์. (2558). การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ด้วยโปรแกรม Desktop Author สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
หน้า 125-131. The 1 National Conference on Technology and lnnovation Management NCTIM 2015. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
วิรัตน์ บุษบงค์, (2558, 3 มิถุนายน). คุณครูผู้สอนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ. สัมภาษณ์.
วิชชุดา ศรีไพรอ่อน. (2552). การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตเบื้องต้นสำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1. tdc.thailis.or.th. /tdc/browse. (สืบค้น เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2558)
อัญญปารย์ ศิลปนิลมาลย์. (2558). การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางการศึกษาตามรูปแบบ ADDIE. ขอนแก่น : โรงพิมพ์แอนนาออฟเซต.