การพัฒนาบทเรียนการ์ตูนมัลติมีเดีย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education ในรายวิชา คอมพิวเตอร์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กรณีศึกษา โรงเรียนวัดจันทาราม (ตั้งตรงจิตร 5)

Main Article Content

ธรรมจรรยา เรือนทองดี
จรินทร อุ่มไกร

บทคัดย่อ

งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนการ์ตูนมัลติมีเดีย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education ในรายวิชา คอมพิวเตอร์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กรณีศึกษา โรงเรียนวัดจันทาราม (ตั้งตรงจิตร 5) 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนมัลติมีเดีย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนการ์ตูนมัลติมีเดีย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อบทเรียนการ์ตูนมัลติมีเดีย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education ประชากรนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 คน คัดเลือกโดยแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บทเรียนการ์ตูนมัลติมีเดีย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education แบบทดสอบความรู้ แบประเมินคุณภาพบทเรียนการ์ตูนมัลติมีเดีย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education แบบสอบถามความพึงพอใจ


ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนการ์ตูนมัลติมีเดีย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education มีองค์ประกอบด้านเนื้อหาและด้านเทคนิค คุณภาพบทเรียนอยู่ในระดับดีมาก 2) ประสิทธิภาพของบทเรียน ด้วยบทเรียนการ์ตูนมัลติมีเดีย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education อยู่ตามเกณฑ์ที่กำหนด 85.11/80.67 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียน มีคะแนนหลังเรียนเพิ่มขึ้นกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อบทเรียนการ์ตูนมัลติมีเดีย โดยอยู่ในระดับดีมาก  

Article Details

How to Cite
เรือนทองดี ธ., & อุ่มไกร จ. (2018). การพัฒนาบทเรียนการ์ตูนมัลติมีเดีย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education ในรายวิชา คอมพิวเตอร์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กรณีศึกษา โรงเรียนวัดจันทาราม (ตั้งตรงจิตร 5). วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ", 2(2), 27–35. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/152786
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร
แห่งประเทศไทย
บรรดล สุขปิติ. (2551). “การวิเคราะห์ปัญหาการเรียนการสอน” ค้นเมื่อ 12 มกราคม 2559. ประจำหน่วยวิจัยเครือข่ายการพัฒนาครู
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
เบญจรัตน์ มงคลสาร (2555) [ออนไลน์]. การพัฒนาสื่อการสอนแบบการ์ตูนมัลติมีเดีย 2 มิติ โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคSTAD
เรื่องโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ. [สืบค้นวันที่ 12 มกราคม 2559]. จาก http://research.npru.ac.th/development
/research_npru/images/stories/3.3.doc
พิสุทธา อารีราษฎร์. (2551). การพัฒนาซอฟท์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
มานิตา เจริญปรุ. (2543). เรียนลัด Macromedia Flash. กรุงเทพฯ: บริษัทโปรวิชั่น.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ ๒๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด
ศิริชัย นามบุรี. (2559). [ออนไลน์]. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. [สืบค้นวันที่ 20 มกราคม 2559]. จาก
https://www.gotoknow.org/posts/245227
Vasquez, J.A., Sneider, C., and Comer, M. (2013). STEM Lesson Essentials: Integrating Science,
Technology, Engineering, and Mathematics. Portsmouth, NH: Heinemann.