การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม วิชาเคมี เรื่อง แบบจำลองอะตอม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

เกียรติภูมิ อุเหล่า
ปวรัชชา ศิริโนนรัง
สุทธิกานต์ บ่อจักรพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม วิชาเคมี เรื่อง แบบจำลองอะตอม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยสื่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม วิชาเคมี และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มี่ต่อการเรียนด้วยสื่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ สื่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม เรื่องแบบจำลองอะตอม แบบประเมินคุณภาพสำหรับผู้เชี่ยวชาญ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และ paired t-test


 ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิภาพของสื่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม เรื่อง แบบจำลองอะตอม มีค่า 87.55/80.19 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยสื่อการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร.
จำรัส กลิ่นหนู. (2555). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์และกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ความปลอดภัยของสารสนเทศเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา
เทคโนโลยีสารสนเทศ. สำนักวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2525). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอนประเภทวิทยุโทรทัศน์. กรุงเทพมหานคร: สำนักเทคโนโลยีการศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.
ปัญจรัตน์ ทับเปีย. (2555). การพัฒนาชุดสื่อประสม แบบโลกเสมือนผสานโลกจริง เรื่อง โครงสร้างและการทำงานของหัวใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. สาขาวิชา วิทยาการ
คอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2531). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมและสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.
มานพ สว่างจิตและไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2557). การพัฒนาสื่อความจริงเสมือน วิชาวิทยาศาสตร์ โรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. สาขาวิชา เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ศิริรัตน์ พริกสี. (2548). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อการสอนทบทวน วิชาเคมี เรื่องอะตอมและธาตุ. สาขาการศึกษา
วิทยาศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง..
สหพร ขวัญวาและรศ.ดร.ณรงค์ สมพงษ์. (2556). การพัฒนาหนังสือคำศัพท์ภาษาอังกฤษภาพความจริงเสมือน เรื่อง สัตว์ ผ่านแท็บเล็ต
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. สาขาวิชา เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อำนาจ ชิดทอง. (2555). การประยุกต์เทคนิคความเป็นจริงเสริมเพื่อผลิตสื่อการสอนสาหรับโครงสร้างไม้. สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.