การพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าผ่านระบบ

Main Article Content

สมประสงค์ อินทรรักษ์
สุนันทา ศรีม่วง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแอพพลิเคชันสำหรับโทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เพื่อการ ควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านจากระยะไกล โดยพัฒนาผ่าน Ionic Framework สำหรับใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ซึ่งใช้ภาษาเอชทีเอ็มแอล ซีเอสเอส และจาวาสคริปต์ และมีการใช้บอร์ด Nodemcu , Relay, PIR Motion Sensor Module และ DS3231 module มาพัฒนาเป็นอุปกรณ์เพื่อรองรับการทำงานของแอพพลิเคชัน และประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานของแอพพลิเคชัน ผลวิจัยพบว่าแอพพลิเคชันระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ จาก Ionic Framework ซึ่งแอพพลิเคชันสามารถใช้ในการควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยใช้ Nodemcu  ในการรับคำสั่งจาก แอพพลิเคชัน และ Relay ในการควบคุมสวิตช์เปิด-ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า แม้ตัวผู้ใช้งานแอพพลิเคชันจะอยู่ห่างไกลกับเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น แต่ก็ทำให้ผู้ใช้งานใช้งานได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น


ผลวิจัยพบว่าผู้วิจัยสามารถพัฒนาแอพพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ จาก Ionic Framework ซึ่งแอพพลิเคชันสามารถใช้ในการควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านผ่านเครือข่าย อินเตอร์เน็ต โดยใช้ nodemcu เพื่อการควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านจากระยะไกล ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.29, S.D. = 0.69) แสดงว่าแอพพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถใช้งานได้จริง และมีประสิทธิภาพตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นนท์ปวิธ นุชโพธิ์ และอรรนพ ไชยเรือน. (2557). เครื่องเปิดประตูด้วยโทรศัพท์ระบบแอนดรอยด์. ปริญญานิพนธ์
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา.
พงศ์พิชศรณ์ สิงคะตา และคุณกานต์ ขันคานันต๊ะ. (2556). ออกแบบและสร้างชุดควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วย อินเทอร์เน็ต.
ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่.
วิรินทร์ เมฆประดิษฐสิน. (2558). Application ที่เกี่ยวกับ Internet of Thing. [ออนไลน์] สืบค้นจาก:
https://thth.facebook.com/virintr/posts/726637307480141