การพัฒนาแอพพลิเคชันเสมือนจริง เรื่องระบบสุริยะ ด้วยเทคโนโลยีอัคเมนต์เตดเรียลริตี้

Main Article Content

วรรณศิลป์ ภู่เด่นใส
สุนันทา ศรีม่วง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอพพลิเคชันเสมือนจริง สำหรับโทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ด้วยเทคโนโลยีอัคเมนต์เตดเรียลริตี้ 2) เพื่อประเมินคุณภาพของแอพพลิเคชันเสมือนจริง เรื่องระบบสุริยะ ด้วยเทคโนโลยีอัคเมนต์เตดเรียลลิตี้และ เป็นการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนมัลติมีเดียเรื่อง ระบบสุริยะ  3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้งาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) แอพพลิเคชันเสมือนจริง เรื่องระบบสุริยะ พบว่า เทคโนโลยีอัคเมนต์เตดเรียลริตี้ที่พัฒนาขึ้นนั้นจะประกอบไปด้วย แอพพลิเคชัน และหนังสือประกอบ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้ เนื่องจากสามารถเพิ่มภาพเสมือนของโมเดลสามมิติ หรือวีดีโอลงไปในภาพที่ถ่ายมาจากกล้อง เว็บแคม หรือกล้องในโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ด้วยเทคนิคทางด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก  2) การศึกษาผลการทดลองใช้พบว่า คุณภาพของแอพพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ความพึงพอใจของผู้ใช้งาน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ภู่เด่นใส ว., & ศรีม่วง ส. (2018). การพัฒนาแอพพลิเคชันเสมือนจริง เรื่องระบบสุริยะ ด้วยเทคโนโลยีอัคเมนต์เตดเรียลริตี้. วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ", 3(1), 63–69. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/152864
บท
บทความวิจัย

References

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์.ปัญหาเทคโนโลยีของการสอน. 9 กุมภาพันธ์ 58.http://www.thairath.co.th/content/336124.
กิจติพงษ์ ประชาชิต. (2549). Maya 8 Workshop. กรุงเทพฯ : ซัคเซล มีเดีย.
กิตติภัทร เจตสิกทัต, ณัฐสิริ ตันติขจร และอภิญญา ถนอมทรัพย์. (2553). สารานุกรมสามมิติด้วยเทคโนโลยีการสร้างภาพ
วัตถุเสมือนจริง 3D Encyclopedia by Augmented Reality Technology. การค้นคว้าแบบอิสระ วิทยาการ
คอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐว อุตกฤษฎ์, นวพล วงศ์วิวัฒน์ไชย. (2554). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อช่วยในการสอนเรื่อง
ตัวอักษาภาษาอังกฤษ A-Z.การค้นคว้าแบบอิสระ เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
พระนครเหนือ.
ชนม์ชนก วงศ์พัฒนกุล และนางสาวปาลิดา แซ่ลิ้ม. (2554). หลักการ AUGMENTED REALITY.สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม
2557. สืบค้นจาก: http://msmisthammasat.blogspot.com/2011/01/ augmented-reality.html.
นัตพล บุระคา. (2557). การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชั่น 3 มิติ เรื่อง องคุลิมาล.การค้นคว้าแบบอิสระ เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
และแอนิเมชั่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธ์. (2542).เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: B&B
Publishing.
ปุณยวีร์ รุจิปูริตานันท์. (2555). CARTOON CHARACTER DESIGN. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ดี.
พลากร ตนพยอม. (2548). Maya Basic เรียนรู้โปรแกรมสร้างงาน 3 มิติ ระดับ Hollywood. กรุงเทพฯ : ซัคเซส.
พูนศักดิ์ ธนพันธ์พาณิช. (2549). Maya Ready&Work.กรุงเทพฯ : เอส.พี.ซี.บุ๊คส์.
อภิชาติ เหล็กดี. (2557).การพัฒนาแอพพลิเคชัน เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ในจังหวัด
มหาสารคาม. มหาสารคาม. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
อานนท์ แทนไชยสง และ อภิชาติ เหล็กดี (2559).การพัฒนาแอพพลิเคชันเสมือนจริง เรื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ด้วย
เทคโนโลยีออคเมนต์เตดเรียลริตี้ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม
อภินันท์ ภิรมย์ ภาคย์ สธนเสาวภาคย์ และ ภัทราวัลย์ คำปลิว(2559). การพัฒนาเกมสามมิติ เรื่อง เกมทางออกอยู่ไหน
3D Game Development: Where are exit? มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม