การพัฒนาโมชันกราฟิก เรื่อง ตำนานพระธาตุขามแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาโมชันกราฟิก เรื่อง ตำนานพระธาตุขามแก่น และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการพัฒนาโมชันกราฟิก เรื่อง ตำนานพระธาตุขามแก่น กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน ชั้นปีที่ 1 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) โมชันกราฟิก เรื่อง ตำนานพระธาตุขามแก่น 2) แบบประเมินคุณภาพ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) โมชันกราฟิก เรื่อง ตำนานพระธาตุขามแก่น ดำเนินเรื่องประกอบไปด้วยตัวละครหลักจำนวน 3 ตัว คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระยาหลังเขียวโมริยกษัตริย์ และพระมหากัสปะเถระเจ้า มีความยาว 2.58 นาที ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นต่อโมชันกราฟิก อยู่ในระดับมาก และ 2) กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจต่อโมชันกราฟิก อยู่ในระดับมาก
Article Details
References
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น.พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
สุดารัตน์ วงศ์คำพา. [ม.ป.ป.]. พัฒนาสื่อการ์ตูนแอนิเมชั่น 2 มิติ เพื่อรณรงค์แก้ปัญหาเด็กอ้วน A Development of 2D Animation Cartoon on Overweight Children Problem Campaign.
สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2559. จาก http://research.msu.ac.th/journal/?p=2078. ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุพจน์ ทองเนื้อขาว. (2541). ความเชื่อเกี่ยวกับพระธาตุขามแก่น ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง
จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุโรทัย แสนจันทรแดง (2558). การพัฒนาโมชันกราฟิก เรื่องการเลิกทาสในสมัยรัชกาลที่ 5. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.