แอพพลิเคชันแปลภาษาท้องถิ่นศรีสะเกษ

Main Article Content

นภาภรณ์ เคนท้าว
กัลยา กระโพธิ์
สุทธิพันธ์ วิชาเรือง
กนิษฐา อินธิชิต

บทคัดย่อ

   การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอพพลิเคชันแปลภาษาท้องถิ่นศรีสะเกษให้ทำงานบนระบบปฏิบัติการ
แอนดรอยด์ และ 2) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งาน  กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะ
ศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จำนวน 50 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แอพพลิเคชันแปลภาษาท้องถิ่นศรีสะเกษ และแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้งานแอพพลิเคชันการใช้งานแอพพลิเคชัน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) แอพพลิเคชันที่พัฒนาขึ้น สามารถแปลภาษาได้ 4 ภาษา คือ ส่วย ลาว เขมร และ เยอ เลือกฟังเสียงของคำศัพท์แต่ละภาษาได้ และ 2) ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจต่อแอพพลิเคชันแปลภาษาท้องถิ่นศรีสะเกษ โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักรชัย โสอินทร์ พงษ์ศธร จันทร์ยอย และณัฐณิชา วีระมงคลเลิศ. (2555) .Android App Development. นนทบุรี.บริษัท ไอดีซี พรีเมียร์ จำกัด.
บุรัสกร อยู่สุข.(2555). แอพพลิเคชันพจนานุกรมแบบสั่งการด้วยเสียงบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณวิทยาสาศาตร์และเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช
มงคลธัญบุรี.
วิกิเพียเดีย สารานุกรมเสรี. (2559). จังหวัดศรีสะเกษ.ค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2559, จาก http://th.wikipedia.org/wiki/จังหวัดศรีสะเกษ.
สุต สุริน.( 2557).ภาษาเขมรพื้นฐาน.สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์. คณะศิลปศาสตร์และวิทยาสาศตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
อดิศักดิ์ จันทร์มิน.(2555). สร้าง Web Application อย่างมืออาชีพด้วย PHP ฉบับ Workshop เล่ม 3. กรุงเทพ ฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.232 หน้า.