แอพพลิเคชั่นการจัดการขยะมูลฝอย

Main Article Content

จิรายุ ธรวรินทร์
อาทิตยา ชัยกุล
สุกุมา อ่วมเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวแบบแอพพลิเคชั่นเรื่องการจัดการขยะมูลฝอยและประเมินการยอมรับตัวแบบแอพพลิเคชั่นเรื่องการจัดการขยะมูลฝอย เครื่องมือที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบคือ rich picture ซึ่งแผนภาพนี้จะอธิบายขั้นตอนการพัฒนาแอพพลิเคชั่นเรื่องการจัดการขยะมูลฝอยและแบบประเมินการยอมรับตัวแบบแอพพลิเคชั่นการจัดการขยะมูลฝอย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความพึงพอใจการออกแบบตัวแบบแอพพลิเคชั่นการจัดการขยะมูลฝอย อยู่ในระดับมาก เนื่องจากการออกแบบตัวแบบแอพพลิเคชั่นง่ายต่อการอ่านและเข้าใจ มีความเหมาะสมในการวางตำแหน่งของส่วนประกอบ มีการแสดงข้อมูลที่เหมาะสมตรงกับความต้องการมีความพึงพอใจการออกแบบตัวแบบแอพพลิเคชั่นการจัดการขยะมูลฝอย 3 ลำดับแรก ได้แก่ วิธีใช้งานไม่สลับซับซ้อน ( = 4.80)  สามารถจดจำการทำงานได้ง่าย ( = 4.80)  การกรอกข้อมูลง่าย ( = 4.60)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ก้านกล้วย.(2549). ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม.สืบค้น : 20 กันยายน 2559 , https://www.gotoknow.org/posts/201068
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (2555). รายงานผลการดำเนินงานการส่งเสริมเผยแพร่และพัฒนาต่อยอดสื่อ eDLTV.
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2555.
วรปภา อารีราษฎร์. (2557). นวัตกรรมระบบการจัดกลุ่มสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎี
บัณฑิต สาขาการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. กรุงเทพมหานคร.
ศูนย์พัฒนาทรัพยากรการศึกษา.(2545). ความสำคัญของสื่อการสอน .สืบค้น : 20 กันยายน 2559, https://www.gotoknow.org/blog/paitoon.
สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย. (2555). ความหมายขยะมูลฝอย.สืบค้น : 20 กันยายน 2559 , https://dregsofsocietypmktbs.wordpress.com
ดร.ธวัชชัย ตั้งอุทัยเรือง.(2557). สถิติที่ใช้การวิจัย.สืบค้น : 20 กันยายน 2559 ,http://www.slideshare.net/twatchait/ss-38400948