การศึกษาองค์ประกอบของแอพพลิเคชันคู่มือเตรียมสอบใบขับขี่ บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์

Main Article Content

สุนันทา กลิ่นถาวร
ณัฐพงษ์ พันธุ์มณี
นิลาวรรณ ถินวาสนา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบแอพพลิเคชันคู่มือเตรียมสอบใบขับขี่บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2) พัฒนาแอพพลิเคชันคู่มือเตรียมสอบใบขับขี่บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 3) ประเมินคุณภาพแอพพลิเคชันคู่มือเตรียมสอบใบขับขี่บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการใช้งานแอพพลิเคชันคู่มือเตรียมสอบใบขับขี่บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองได้แก่ ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายจำนวน 30 คน เครื่องมือการวิจัย แอพพลิเคชันคู่มือเตรียมสอบใบขับขี่บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อแอพพลิเคชันคู่มือเตรียมสอบใบขับขี่บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ แบบสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อแอพพลิเคชันคู่มือเตรียมสอบใบขับขี่บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1)  องค์ประกอบของแอพพลิเคชันคู่มือเตรียมสอบใบขับขี่บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์  จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนของแอพพลิเคชันที่ทำงานอยู่บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ที่เป็นส่วนที่ใช้ติดต่อประสานงานกับผู้ใช้งาน และ ส่วนที่ทำงานและจัดเก็บอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ 2) ผลการพัฒนาแอพพลิเคชันคู่มือเตรียมสอบใบขับขี่บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยเนื้อหาในการเรียนรู้กฎหมายจราจร จำนวน 11 บท และข้อสอบภาคทฤษฎีทั้งหมด 800 ข้อ คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มเพื่อแสดงผลจำนวน 50 ข้อ 3) ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อแอพพลิเคชันคู่มือเตรียมสอบใบขับขี่บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 4) ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการใช้งานแอพพลิเคชันคู่มือเตรียมสอบใบขับขี่บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักสวัสดิภาพการขนส่ง. (2557). สถิติผู้กระทำผิดกฎจราจรในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. สืบค้นจาก http://goo.gl/0ErBb2
[2] สนุก ออนไลน์. (2557). ขนส่งทางบกปรับนโยบายสอบใบขับขี่ใหม่. สืบค้นจาก http://auto.sanook.com/6731/
[3] สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). คู่มืออบรมสร้างสื่อเรียนรู้สู่แท็บเล็ต. กรุงเทพมหานคร: หน้า 6-9 (อัดสำเนา)
[4] ณัฐกานต์ ไวยเนตร และ คณะ. (2553). การสำรวจประวัติการได้ใบขับขี่การทดสอบ การขับขี่ของเยาวชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรณีศึกษาสถาบันการศึกษาจังหวัดพิษณุโลก. สืบค้นจาก http://goo.gl/szkrXB
[5] รัมภา หทัยธรรม. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุในผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง จังหวัด
สมุทรสาคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.
[6] โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2555). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analysis and Design) ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม.
พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
[7] บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
[8] ปรัชญา เพ็ชรแสงศรี และณัฐวี อุตกฤษฏ์. (2552). ระบบบริหารจัดการข้อมูลการสั่งซื้อสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต กรณีศึกษา บริษัทกรีน ดิสคัฟเวอรี่ จำกัด. ใน The 5th National Conference on Computing and Information Technology (NCCIT 2009). King Mongkut's University of Technology North Bangkok (KMUTNB). หน้า 514-520.