การสร้างระบบแบบทดสอบเพื่อวินิจฉัยข้อบกพร่องทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สาระที่ 4 พีชคณิต เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาด้วยสมการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ไพศาล ดาแร่
ฟ้าอาทิตย์ ท่อนทองทิพย์
วสวัตติ์ แก้วมาก

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยจุดบกพร่องในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สาระที่ 4 พีชคณิตเรื่องการแก้โจทย์ปัญหาด้วยสมการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) ศึกษาคุณภาพแบบทดสอบวินิจฉัยจุดบกพร่องในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สาระที่ 4 พีชคณิตเรื่องการแก้โจทย์ปัญหาด้วยสมการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) วิเคราะห์ผู้เรียนรู้จักข้อบกพร่องของตนเองหลังจากได้ทำแบบทดสอบวินิจฉัยข้อบกพร่องในการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ สาระที่ 4 พีชคณิต เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาด้วยสมการ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาล7 รถไฟสงค์เคราะห์ สำนักงานการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบทดสอบวินิจฉัยจุดบกพร่อง 32 ข้อ ที่ได้ผ่านการตรวจ IOC 2) ระบบแบบทดสอบวินิจฉัยจุดบกพร่องในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สาระที่ 4 พีชคณิต เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาด้วยสมการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6


            ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบทดสอบวินิจฉัยจุดบกพร่องในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สาระที่ 4 พีชคณิตเรื่องการแก้โจทย์ปัญหาด้วยสมการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวนโจทย์ปัญหา 10 ข้อ ข้อคำถาม 40 ข้อ  2) แบบทดสอบที่มีคุณภาพของแบบทดสอบมีค่าความยากของแบบทดสอบตั้งแต่ 0.35-0.79 ค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบตั้งแต่ 0.20-0.58 ค่าความเชื่อมั่น ของแบบทดสอบ คำนวณโดยใช้สูตรไบโนเมียลมีค่า 0.9289 และ 0.9197 3) ระบบแบบทดสอบวินิจฉัยของบกพร่องที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น วิเคราะห์ผลที่นักเรียนตอบตามจุดบกพร่องของขั้นตอนการแก้ปัญหา 4 ขั้นตอนของโพลยาและคะแนนที่นักเรียนตอบตรงตามข้อบกพร่องนั้นๆเป็นเปอร์เซ็นต์ 1. นักเรียนสามารถเข้าใจโจทย์ 71.02 เปอร์เซ็นต์ 2. ขาดความสามารถในการแปลงภาษาโจทย์ไปสู่ประโยคสัญลักษณ์ 52.27 เปอร์เซ็นต์ 3. นักเรียนสามารถปฏิบัติได้ตามแผน 45.45 เปอร์เซ็นต์ 4. นักเรียนวางแผนแก้ปัญหาได้  40.06 เปอร์เซ็นต์ 5. ขาดความเข้าใจในวิธีการของการหาความสัมพันธ์ระหว่างคำตอบกับการตรวจคำตอบ 39.77 เปอร์เซ็นต์ 6. วิธีผิด โดยนักเรียนคิดคำนวณโดยใช้การกระทำทางคณิตศาสตร์ (บวก ลบ คูณ หาร) อื่นที่ไม่ใช้การกระทำคณิตศาสตร์โจทย์กำหนดให้ 36.64 เปอร์เซ็นต์ 7. นักเรียนสามารถตรวจคำตอบได้  28.69 เปอร์เซ็นต์ 8. แทนค่าสมการไม่ถูกต้อง  26.98เปอร์เซ็นต์ 9. การคำนวณผิด ซึ่งเกิดจากความสะเพร่าขาดความละเอียดรอบคอบ 26.70 เปอร์เซ็นต์ 10. หาส่วนสำคัญของปัญหาไปสู่การหาคำตอบไม่ได้ 15.62 เปอร์เซ็นต์ 11. ไม่เข้าใจความสำพันธ์ของโจทย์ 13.35 เปอร์เซ็นต์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
องค์กรรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
[2] กรมวิชาการ. (2539). แนวทางการสร้างแบบทดสอบวินิจฉัย เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: คุรุสภา ลาดพร้าว.
[3] บุญชม ศรีสะอาด. (2523). แบบทดสอบวินิจฉัย. วารสารการวัดผลการศึกษา, 2(1), 9-24.
[4] ญาณัจฉรา สุดแท้. (2551). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขคณิตสองมิติและสามมิติ สำหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยสารคาม, มหาสารคาม.
[5] สุขุม มูลเมือง. (2523). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยข้อบกพร่องในการเรียนทศนิยมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในจังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
[6] สุชาติ สิริมีนนันท์. (2542). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยจุดบกพร่องในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องภาคตัดกรวย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 ในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
[7] อุบลวรรณ อ่อนตะวัน. (2551). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยเรื่องสมการและการแก้สมการในกลุ่มสาระการเรียนรู้และคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.
[8] ประภาพรรณ มั่นสวัสดิ์. (2548). การสร้างแบบทดสบวินิจฉัยในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง โจทย์ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต)
มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.
[9] สุภาพ สิริมีนนันท์. (2544). การสร้างและการใช้แบบทดสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์ด้านการแก้โจทย์ปัญหา เรื่องการบวก ลบ คูณ และหารโดยการใช้สมการ สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่
5. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.
[10] ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
[11] ประเสริฐ พิณทอง. (2548). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยในการเรียนคณิตศาสตร์ด้านทักษะการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง การคูณและการหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.
[12] วิยดา ซ่อนขำ. (2551). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยจุดบกพร่องในการเรียนวิชา คณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนและการดำเนินการสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหา
บัณฑิต), มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ, กรุงเทพฯ.