การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ชฎาพร ภูกองชัย

บทคัดย่อ

 


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)  เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนศรีเสมาวิทยาเสริม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์  เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนศรีเสมาวิทยาเสริม  3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนศรีเสมาวิทยาเสริม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนศรีเสมาวิทยาเสริม ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา 2561 จำนวน 34 คน ซึ่งได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive  Sampling)   


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ จำนวน 7 ชุด 2)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติทดสอบค่าที (t-test)


ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ เท่ากับ 80.69/80.39 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องอัตราส่วนและร้อยละ ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ และ 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาตร์เรื่อง  อัตราส่วนและร้อยละ โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. คุรุสภาลาดพร้าว. กรุงเทพฯ.
[2] กรมวิชาการ. (2545). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรมวิชาการ. กรุงเทพฯ.
[3] กรมวิชาการ. (2552). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์(ร.พ.ส.). กรุงเทพฯ.
[4] เรืองยศ เยี่ยมยอด. (2551). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบ การเรียนรู้แบบ 4 MAT. (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
[5] สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2). ห้างหุ้นส่วน จำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง. กรุงเทพฯ.
[6] คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). สำนักงานหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ.
[7] ดวงฤดี เอี่ยมพนากิจ. (2552). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาอัตราส่วน และร้อยละโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยศิลปกร. นครปฐม.
[8] วราภรณ์ ระบเลิศ. (2552). การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องตัว ประกอบของจำนวนนับ โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
[9] พิรม พูลวลัสดิ์. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง เศษส่วน โดยใช้แบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 15(3). 67-74.
[10] สุพรรณ สิงหนุวัฒนะ ธนิน กระแสร์ และวันทนีย์ นามสวัสดิ์. (2558). ผลการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม โดยการ
ใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 7(2). 137-157.