การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำข้าวฮาง วิสาหกิจชุมชน กลุ่มข้าวงอกฮางกล้องบ้านจาน หมู่ 1 ตำบลโนนนาจาน อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

อัจฉรา สุมังเกษตร
ณรงค์ฤทธิ์ มะสุใส

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการทำข้าวฮางแบบมีส่วนร่วมกับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวงอก
ฮางกล้องบ้านจาน ตำบลโนนนาจาน อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) พัฒนาสื่อมัลติมีเดียภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำข้าวฮาง วิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวงอกฮางกล้องบ้านจาน ตำบลโนนนาจาน อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์  และ3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานสื่อมัลติมีเดีย กลุ่มตัวอย่าง คือ ตัวแทนในเขตพื้นที่วิจัยจำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย สื่อมัลติมีเดียที่พัฒนาขึ้น แบบประเมินประสิทธิภาพการทำงานของสื่อมัลติมีเดีย และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อสื่อมัลติมีเดีย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการทำข้าวฮางคือ แช่-นึ่ง-ผึ่ง-สี 2) สื่อมัลติมีเดียที่พัฒนาขึ้นมีลักษณะการทำงานแบบนำเสนอ ประกอบด้วย 4 เมนูหลัก คือ ภูมิปัญญาข้าวฮาง องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำข้าวฮาง วิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวงอกฮางกล้องบ้านจาน และวีดีโอภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำข้าวฮาง มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด และ3) ความพึงพอใจของผู้ใช้งานสื่อมัลติมีเดียภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำข้าวฮางอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ คุรุสภาลาดพร้าว.
[2] จิรายุฑ ประเสริฐศรี, คชากฤษ เหลี่ยมไธสง. (2556). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น สำหรับเยาวชนจังหวัดบุรีรัมย์.
รมยสาร. 12(1), 43-55.
[3] ชุมพล จันทร์ฉลอง. (2558). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเรื่องการสร้างภาพเคลื่อนไหว 2 มิติ แบบเฟรมต่อเฟรม. วารสารวารสารวิจัยและพัฒนา
วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 66(10), 65-73.
[4] ซัง อรุษา. (2556). ข้าวฮาง เพิ่มค่าข้าวไทยด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. 54(5), 10-12.
[5] ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. (2551). ระเบียบวิธีวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
[6] ณัฐพร สงคราม. (2557). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
[7] มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). มัลติมีเดียและไฮเปอร์มีเดีย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[8] มัณฑนา นครเรียบ (2555). ประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพของข้าวกล้องงอกและข้าวฮางงอก.วารสารวิทยาศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
9(1), 70-80.
[9] อังค์สร กฤตนันท์ และคณะ. (2558). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียโดยใช้บริบทชุมชนเชิงสร้างสรรค์เรื่องเครื่องเบญจรงค์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่
3. วารสารวารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย. 8(2), 517-531.
[10] อัจฉรา สุมังเกษตร. (2560). การจัดการองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำข้าวฮางวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวงอกฮางกล้องบ้านจาน อำเภอนาคู
จังหวัดกาฬสินธุ์ ใน การประชุมวิชาการพะเยาวิจัยครั้งที่ 6 ศิลปวัฒนธรรมวิจัยเพื่อประเทศไทย 4.0 (น.1875-1883). พะเยา: หอประชุม
พญางำเมือง มหาวิทยาลัยพะเยา.