การศึกษาความพึงพอใจในการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องสำอางผ่านสื่อออนไลน์ สิทธิชัย บุษหมั่น, ปรัชญา นวนแก้ว, วงษ์ปัญญา นวนแก้ว, นวพงษ์ ขันคำ และ สุทธิษา กันจู

Main Article Content

วงษ์ปัญญษ นวนแก้ว
นวพงษ์ ขันคำ
สุทธิษา กันจู
รัตนศักดิ์ เพ็งชะตา
ปรัชญา นวนแก้ว

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องสำอางผ่านสื่อออนไลน์ 2) เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจการเลือกซื้อเครื่องสำอางผ่านสื่อออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่เลือกใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ กลุ่มขายเครื่องสำอางของแท้ By:Ammee และกลุ่มลับเฉพาะ Chocolate Chip ชะนีขายแปรง จำนวน 451 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษาพบว่า จากการศึกษาความพึงพอใจในการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องสำอางผ่านสื่อออนไลน์ ของทั้งสองกลุ่มพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามออนไลน์ส่วนใหญ่ มีอายุช่วงอายุ 20-29 ปี ส่วนใหญ่มีอาชีพ นักเรียน นักศึกษาและนิสิต รายได้แต่ละเดือนส่วนใหญ่ 5,001-10,000 บาท ความถี่ในการเลือกซื้อแต่ละครั้ง คือ เลือกซื้อ 3-4 ครั้ง/เดือน ส่วนใหญ่นิยมเลือกซื้อในปริมาณ 1-2 ชิ้น ส่วนใหญ่มีโอกาสเลือกซื้อสินค้าอีกชิ้นเพิ่มสินค้าที่ซื้อมีสัมพันธ์กับสินค้าก่อนหน้า อิทธิพลในการเลือกซื้อเครื่องสำอาง ส่วนใหญ่เลือกตัวเอง ในส่วนของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสำคัญมาเป็นอันดับแรกๆ คือทั้งสองกลุ่มมีความเห็นด้วยอย่างยิ่ง ราคาและคุณภาพของสินค้าควรมีความเหมาะสมและเป็นธรรม

Article Details

How to Cite
นวนแก้ว ว., ขันคำ น., กันจู ส., เพ็งชะตา ร., & นวนแก้ว ป. (2019). การศึกษาความพึงพอใจในการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องสำอางผ่านสื่อออนไลน์: สิทธิชัย บุษหมั่น, ปรัชญา นวนแก้ว, วงษ์ปัญญา นวนแก้ว, นวพงษ์ ขันคำ และ สุทธิษา กันจู. วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ", 5(1), 104–112. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/172496
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

นวพงษ์ ขันคำ, สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา

นิสิตสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา

สุทธิษา กันจู, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา

นิสิตสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา

References

จารุวรรณ ปัญญาศิริ.(2554).ปัจจัยการรับรู้การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางของยี่ห้อหนึ่งของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารกิจมหาบัณบิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชรินี เดชจินดา.(2535).ความพึงพอใจของผู้ประกอบการต่อศูนย์กำจัดการอุตสาหกรรม.จังหวัดกรุงเทพมหานคร.
ธนา ตันติเอมอร.(2558).พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางนำเข้าจากต่างประเทศ.วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารกิจมหาบัณบิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ.(2552).การบริหารการตลาดยุคใหม่.กรุงเทพฯ:ธรรมสาร.
อุศน์อุไร เตชะสวัสดิ์.(2549).พฤติกรรมผู้บริโภค.กรุงเทพ:ซี.วี.แอล.การพิมพ์.
Michael Beer.(1964).Human resource Management: a general manger's perspective : text and case. New York : Free Press.