การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

Main Article Content

อภิดา รุณวาทย์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนให้มีคุณภาพ และ 2) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน ชุมชน จำนวน 11 คน และนักศึกษา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยโมชันกราฟิก จำนวน 2 ตอน แบบประเมินคุณภาพสื่อ แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถาม ความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test (dependent samples)


            ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียทำให้ได้โมชันกราฟิก จำนวน 2 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 โครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนการสร้างความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัย จังหวัดกาฬสินธุ์ ผู้เชี่ยวชาญ มีความคิดเห็นต่อคุณภาพของสื่อมัลติมีเดียโดยรวมอยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และตอนที่ 2 ผลการดำเนินโครงการความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัย จังหวัดกาฬสินธุ์ กรณีตำบลภูปอ อำเภอเมือง ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นต่อคุณภาพของสื่อมัลติมีเดียโดยรวมอยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน พบว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการประเมินสื่อมัลติมีเดียโดยรวมอยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] นภัสนันท์ กล้าวิทย์การ, และวรรณสม สีสังข์. (2559). การใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยสกว. ประจำปี 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
[2] สม นาสอ้าน, และนิตยา สิทธิหงส์. (2556). โครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนการสร้างความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัย จังหวัดกาฬสินธุ์, (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ฝ่ายวิจัยท้องถิ่น.
[3] พิสุทธา อารีราษฎร์. (2551). การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[4] บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่97). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
[5] สุโรทัย แสนจันทรแดง, และธวัชชัย สหพงษ์. (2560). การพัฒนาโมชันกราฟิก เรื่อง การเลิกทาสในสมัยรัชกาลที่ 5. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 2. (น. 175-182). มหาสารคาม : คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[6] พงษ์พิพัฒน์ สายทอง. (2557). การพัฒนาโมชันอินโฟกราฟิก เรื่องกระบวนการวิจัย สำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. Veridian E-Journal Silapakorn University, 10(2), 1330-1341.
[7] นฤมล ถิ่นวิรัตน์. (2555). อิทธิพลของอินโฟกราฟิกต่อการสื่อสารข้อมูลเชิงซ้อน กรณีศึกษา โครงการ “รู้สู้ flood”. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
[8] บัณฑิต สุวรรณโท, และมณีรัตน์ ผลประเสริฐ. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาการออกแบบกราฟิกบนคอมพิวเตอร์ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบโครงงาน. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 2. (น. 115-120). มหาสารคาม : คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[9] ชาตรี มูลชาติ, ธรัช อารีราษฎร์, สายชล จินโจ, และเผด็จ พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานโดยอาศัยสื่อ eDLTV รายวิชาคอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่องานอาชีพ. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 2. (น. 303-312). มหาสารคาม : คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.