การทดสอบระบบควบคุมเครื่องลูกข่ายด้วยซอฟต์แวร์บริหารจัดการเซิร์ฟเวอร์ดิสก์เลสส์

Main Article Content

ปิติพล พลพบู
ธานิล ม่วงพูล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ติดตั้งและทดสอบระบบควบคุมเครื่องลูกข่ายด้วยซอฟต์แวร์บริหารจัดการเซิร์ฟเวอร์ดีสก์เลสส์ 2) ทดสอบประสิทธิภาพของระบบ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจการใช้งานของระบบ การออกแบบ การทำงานของระบบจะติดตั้งส่วนบูทของเครื่องลูกข่ายไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ เมื่อเครื่องลูกข่ายเปิดเครื่องจะโหลดข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์และทำการบูทเครื่อง การทดลองใช้งานจะทดสอบสอบกับเครื่องลูกข่าย จำนวน 30 เครื่อง กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม  


       ผลการศึกษาพบว่า 1) การติดตั้งและทดสอบระบบควบคุมเครื่องลูกข่ายด้วยซอฟต์แวร์บริหารจัดการเซิร์ฟเวอร์ดีสก์เลสส์ พบว่า ระบบสามารถใช้งานได้ปกติทั้ง 30 เครื่อง เครื่องแม่ข่ายสามารถควบคุมการทำงานเครื่องลูกข่ายได้ 2) ผลจากการทดสอบประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์และเครือข่าย จำนวน 3 ท่าน พบว่า ระบบควบคุมเครื่องลูกข่ายด้วยซอฟต์แวร์บริหารจัดการเซิร์ฟเวอร์ดีสก์เลสส์ มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก และ 3) ผลจากการสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้ระบบ พบว่า ผู้ใช้มีความพึงพอใจต่อการใช้ระบบอยู่ในระดับมากเช่นกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] พิศาล พิทยาธุรวิวัฒน์. (2551). ติดตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ internet/internet ฉบับผู้เริ่มต้น. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
[2] วีรภัทร พรหมชนะ, ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์, และเกริก ภิรมย์โสภา. (2551). การพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลบนเครือข่ายแบบขยายได้โดย
อัตโนมัติ บนเทคโนโลยีโอเพนซอร์ซ. ใน The 12th National Computer Science and Engineering Conference (NCSEC 2008) ครั้งที่ 5. (น. 599-604). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโ,ยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[3] สุรศักดิ์ สุนทร, และธีรวัฒน์ สุนทร. (2558). การจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์ด้วยระบบ Diskless. สืบค้นจาก https://www.technicchan.ac.th
[4] August Anthony N. Balute, Mateo D. Macalaguing, Dennis B. Gonzales and Caroline J. Aga-ab. (2016). Linux based Diskless System using RSYNC Algorithm. Master Thesis. International Journal
of Computer Applications (0975–8887), 155(3).
[5] จตุพงษ์ รินเขียว, และวรชน หน่อแก้ว. (2553). ระบบการจัดการเครื่องลูกข่ายแบบรวมศูนย์. ใน 11th Anniverary Rajamagala University of Technology LANNA ครั้งที่ 5. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ภาคพายัพ.
[6] ยศวรรธน์ จันทนา. (2555). การสร้างและบริหารจัดการเซิร์ฟเวอร์ดิสก์เลสส์ (รายงานวิจัย). เพชรบูรณ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์.
[7] Black Box Testing. (ม.ป.ป.). สืบค้นจาก http://agile.csc.ncsu.edu/SEMaterials/BlackBox.pdf
[8] พิสุทธา อารีราษฎร์. (2551). การพัฒนาซอฟท์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.