การพัฒนาระบบบริหารจัดการงานเทียบโอนรายวิชาเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการทำงานในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาจากกระบวนการเทียบโอนรายวิชาในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 2) พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อจัดการรายวิชาเทียบโอน และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการายวิชาเทียบโอน มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 141 คน เป็นคณาจารย์และนักศึกษาในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับสภาพปัญหาที่พบจากกระบวนการเทียบโอนรายวิชา ที่ได้สำรวจจากแบบสอบถาม เกิดจากนักศึกษามีความไม่เข้าใจกระบวนการเทียบโอนรายวิชา ทำให้ไม่สามารถดำเนินการเทียบโอนได้ด้วยตนเอง หรือไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่พบระหว่างการเทียบโอนรายวิชาได้ นักศึกษาไม่สามารถเตรียมความพร้อมของเอกสารให้ครบถ้วนได้ สืบเนื่องมาจากความไม่เข้าใจในกระบวนการและไม่เข้าใจในหลักเกณฑ์การเทียบโอน 2) ระบบสารสนเทศเพื่อการเทียบโอนได้ถูกพัฒนาขึ้นสามารถแบ่งกลุ่มผู้ใช้งานออกเป็น 2 กลุ่ม คือ นักศึกษาและอาจารย์ สามารถเข้าใช้งานระบบตามฟังก์ชั่น ดังนี้ ลงทะเบียนและเข้าสู่ระบบ ตรวจสอบรายวิชาที่อนุญาตให้เทียบโอน และเทียบโอนรายวิชา และ 3) ระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาจากกระบวนการเทียบโอนรายวิชาในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 2) พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อจัดการรายวิชาเทียบโอน และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการายวิชาเทียบโอน มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 141 คน เป็นคณาจารย์และนักศึกษาในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับสภาพปัญหาที่พบจากกระบวนการเทียบโอนรายวิชา ที่ได้สำรวจจากแบบสอบถาม เกิดจากนักศึกษามีความไม่เข้าใจกระบวนการเทียบโอนรายวิชา ทำให้ไม่สามารถดำเนินการเทียบโอนได้ด้วยตนเอง หรือไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่พบระหว่างการเทียบโอนรายวิชาได้ นักศึกษาไม่สามารถเตรียมความพร้อมของเอกสารให้ครบถ้วนได้ สืบเนื่องมาจากความไม่เข้าใจในกระบวนการและไม่เข้าใจในหลักเกณฑ์การเทียบโอน 2) ระบบสารสนเทศเพื่อการเทียบโอนได้ถูกพัฒนาขึ้นสามารถแบ่งกลุ่มผู้ใช้งานออกเป็น 2 กลุ่ม คือ นักศึกษาและอาจารย์ สามารถเข้าใช้งานระบบตามฟังก์ชั่น ดังนี้ ลงทะเบียนและเข้าสู่ระบบ ตรวจสอบรายวิชาที่อนุญาตให้เทียบโอน และเทียบโอนรายวิชา และ 3) ระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
[2] จันทร์ฉาย ไชยขันธ์. (2549). สภาพปัญหาและแนวทางพัฒนาการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารการจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร,
สกลนคร.
[3] ณัฐวี อุตกฤษฎ์. (2550). แนวทางการพัฒนาการจัดเก็บการบริหารข้อมูลสารสนเทศของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ, 3(6), 47-54.
[4] สุดารัตนN ล่ำงาม. (2551). ประสิทธิผลการจัดการระบบสารสนเทศของสำนักงานพัฒนาชุมชนในจังหวัดลำปาง. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
[5] ธีรจิต พัฒนกิตติเวทย์. (2551). การจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 1-2 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏ
กาญจนบุรี, กาญจนบุรี.
[6] หทัยชนก แจ่มถิ่น, และอนิรุทธ์ สติมั่น. (2558). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ระดับบัณฑิตศึกษา สำหรับบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(2), 893-911.
[7] Aaker, D. A., Kumar, V. & Day, G. S. (2001). Marketing research. New York: John Wiley.
[8] Sombut Tayruakam. (2000). Initial educational research. Maha Sarakham: Department of Educational Research and Development, Faculty of Education Maha Sarakrm University.