แนวทางการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้เทคนิคการใช้ใบงาน (Job Sheet) รายวิชาโครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในรายวิชาโครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม โดยเทคนิคการใช้ใบงาน (Job Sheet) 2) ศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ ในรายวิชาโครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม โดยใช้เทคนิคการใช้ใบงาน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้เทคนิคการใช้ใบงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาโครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม จำนวน 44 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการสอนการใช้งานคอมพิวเตอร์ 2) ใบงานกิจกรรมการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักศึกษาให้ความสนใจในการจัดกิจกรรมการเรียน มีความกระตือรือร้นในการเข้าศึกษา และเรียนรู้ได้ทั้งในภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการใช้เทคนิคการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคใบงาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหาและด้านการจัดกิจกรรม
Article Details
References
[2] มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2540). การจัดระบบการศึกษา หน่วยที่ 7-10. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
[3] สุชาติ กิจพิทักษ์. (2545). ชุดฝึกอบรมครู:ประมวลสาระบทที่ 4 เรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.
[4] สมพร เชื้อพันธ์. (2547). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบสร้างความรู้ด้วยตนเองกับการจัดการเรียนการสอนตามปกติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, พระนครศรีอยุธยา.
[5] นิกสัน วังโพธิ์. (2548). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ใน พระบรมราชูปถัมภ์, ปทุมธานี.
[6] ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2533). เทคโนโลยีการศึกษา: ทฤษฎีและการวิจัย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
[7] Likert, R. (1979). The Method of Constructing and Attitude Scale, Reading in Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.
[8] ปรีดา เบ็ญคาร. (2548). การส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนในกระบวนการพัฒนาการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครู. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
[9] Bandura, A. (1986). Social foundations of though and action: A social cognitive theory. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall.
[10] มานะ โสภา, พรพิมล ยอดดงบัง และพัชรินทร์ พิสัยพันธุ์. (2560). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้แนวทางการจัดการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมอง (Brain-Based Learning: BBL) เรื่องการสะกดคำ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 3(2), 28-33.
[11] พิชญ์กสินี นนท์กาญจนจินดา, เบญจพร บุญสยมภู, และอรวรรณ แท่งทอง. (2559). การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนในรายวิชากฎหมายธุรกิจ เรื่อง สัญญา โดยใช้ระบบการให้คำปรึกษาแบบ Online. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 10(ฉบับพิเศษ 2559), 131-136.