การพัฒนาระบบฐานข้อมูลควบคุมมาตรฐานเกษตรปลอดภัยผักเบอร์ 8 จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

สิทธิศักดิ์ อรรจนานนท์
เพ็ญศรี ปักกะสีนัง
ดาเรศ วีระพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบฐานข้อมูลควบคุมมาตรฐานเกษตรปลอดภัยผักเบอร์ 8 และ 2) ศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการหลังการใช้งานระบบฐานข้อมูลเกษตรปลอดภัยผักเบอร์ 8 จังหวัดฉะเชิงเทรา การพัฒนาระบบฐานข้อมูลดำเนินการพัฒนาตามลำดับขั้นตอนของ SDLC Model (System Development Life Cycle) และศึกษาระดับความพึงพอใจต่อการใช้งานโดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ใช้บริการเว็บไซต์ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ความต้องการใช้งาน ใช้ในขั้นตอนการเก็บรวบรวม ความต้องการของผู้ใช้งานระบบ และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบ


ผลการวิจัยพบว่า ระบบที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ 4 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนบน ส่วนซ้าย ส่วนขวา และส่วนกลาง ซึ่งส่วนบนจะประกอบไปด้วยเมนูหลักที่สำคัญของเว็บไซต์ ส่วนซ้ายประกอบด้วยเมนูสำหรับเข้าสู่ระบบ เมนูข้อมูลทั่วไป และการจัดการข้อมูลต่างๆ ในฐานข้อมูล ส่วนขวาจะประกอบไปด้วยรายละเอียดของผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ส่วนกลางทำหน้าที่ในการแสดงผลของบทความที่ต้องการอ่าน และรายละเอียดของข้อมูลต่างๆ ที่ถูกจัดเก็บในฐานข้อมูล เมื่อทำการศึกษา ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งาน พบว่า ผู้ใช้งานเว็บไซต์มีความพึงพอใจต่อการใช้งานโดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] ดวงพร ภู่ผะกา. (2558). รายงานผลการสังเคราะห์โจทย์วิจัยร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการและกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประเด็นฯ “ผักปลอดภัยสูงเบอร์ 8: ผักอนาคตไกล” ของจังหวัดฉะเชิงเทรา. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
[2] สำนักงานเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา. (2560). คู่มือการดำเนินงานโครงการพัฒนาสินค้าเกษตรปลอดภัยสูง ปี 2560 จังหวัดฉะเชิงเทรา. ฉะเชิงเทรา: ผู้แต่ง.
[3] สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. (2561). เรื่องมาตรฐานสินค้าเกษตรและวัตถุประสงค์. สืบค้นจาก http://www.acfs.go.th/standard_subcommittee.php
[4] อารีษา แก้วเปี้ย, สุรพล ชุ่มกลิ่น, และพิชิต พวงภาคีศิริ. (2559). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลบุคลากรออนไลน์กรณีศึกษาเทศบาลตำบลบ้านด่านนาขาม อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. ใน การประชุมวิชาการราชภัฏนครสวรรค์วิจัย ครั้งที่
1. (569-582). นครสวรรค์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
[5] สมชาย อารยพิทยา. (2558). การพัฒนาโปรแกรมฐานข้อมูลพืชสมุนไพร กรณีศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้. วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม. 1(1), 25-37.
[6] พงศ์กร จันทราช. (2556). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลวัดในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 7(1), 109-120.
[7] กระทรวงมหาดไทย. (2560). จำนวนประชากรจังหวัดฉะเชิงเทรา ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560. สืบค้นจาก http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age_disp.php
[8] บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.