การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ ด้วยเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว

Main Article Content

ณัฐพงศ์ พลสยม
ธรัช อารีราษฎร์
ธวัชชัย สหพงษ์

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ด้วยเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว และ 2) สอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ด้วยเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ที่มีประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว หรือเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการจัดการห้องปฏิบัติการอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ เพื่อหาแนวทางการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ด้วยเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์รูปแบบแนวทางการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ด้วยเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว แบบประเมินความเหมาะสมรูปแบบการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ด้วยเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ด้วยเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว ประกอบด้วย 5 ส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนที่ 1 นโยบายหลักการ ทฤษฎี ส่วนที่ 2 องค์ประกอบอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ ส่วนที่ 3 การบริหารจัดการห้องปฏิบัติการอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ ส่วนที่ 4 องค์ประกอบการจัดการห้องเรียนอัจฉริยะ ส่วนที่ 5 ตัวชี้วัดในการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ด้วยเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว 2) ผู้เชี่ยวชาญ มีความเห็นต่อ ความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ด้วยเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.81, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.42) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความเหมาะสมด้านองค์ประกอบของรูปแบบ องค์ประกอบอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.89, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.33) ความเหมาะสมด้านนโยบายหลักการทฤษฎีเทคโนโลยี internet of things (IOT) อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.89, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.33) ความเหมาะสมด้านองค์ประกอบของอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.78, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.44) ความเหมาะสมด้านการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการ IOT อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.89, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.33) ความเหมาะสมขององค์ประกอบด้านการจัดห้องเรียนอัจฉริยะ อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.89, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.33) ความสอดคล้องของตัวบ่งชี้ของรูปแบบด้านห้องปฏิบัติการ ระดับความสำเร็จของการบริหารจัดการกระบวนการ PDCA อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.78, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.44) ความสอดคล้องของตัวบ่งชี้ของรูปแบบ ด้านผู้เรียน ความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.89, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.33) ความเหมาะสมด้านกระบวนการจัดการห้องปฏิบัติการอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ด้วยเทคโนโลยีสมองกลฝังตัวขั้นวางแผน (P), ขั้นปฏิบัติ (D), ขั้นทดลอง (C), ขั้นสะท้อนผล (A) อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.89, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.33) ความสอดคล้องด้านองค์ประกอบด้านอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.89, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.33) ความสอดคล้องด้านเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.89, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.33) ความสอดคล้องด้านการจัดวางห้องห้องปฏิบัติการอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.89, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.33)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] ธนารักษ์ ธีระมั่นคง.(บ.ก.). (2549). เทคโนโลยีสมองกลฝังตัว. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
[2] สุพิชฌาย์ ศรีโคตร. (2559). การพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมผู้เรียนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยอุปกรณ์ Raspberry Pi. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
[3] มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ. (2559). แผนยุทธศาสตร์คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2560-2564. มหาสารคาม : ผู้แต่ง.
[4] สมนึก จิระศิริโสภณ. (2559). โครงการศึกษาด้านสารสนเทศเรื่อง Internet of Things (IoT). สืบค้นจาก http://ict.rid.go.th/_data/researchProject/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B 8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2IoT.pdf
[5] Minerva Roberto, Biru Abyi, and Rotondi Domenico. (2015). Towards a definition of the Internet of Things (IoT), IEEE Internet Initiative.
[6] สัญญา อุทธโยธา, และพิชิต ทนันชัย. (2558). พัฒนาระบบควบคุมการยกตะกอของกีทอผ้าระบบด๊อบบีแบบกึ่งอัตโนมัติ โดยเทคนิคการกระจายงานแบบแยกอิสระด้วยระบบสมองกลฝังตัว. ใน การประชุมวิชาการ งานวิจัยและพัฒนาเชิงประยุกต์ ครั้งที่ 7, (น. 40) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง, ตรัง.
[7] Best, John W. (1997). Research in Education (3rd ed). Englewood Cliffs,. NJ : Prentice Hall. (น. 40).
[8] อุไรรัตน์ รัตนวิจิตร. (2550). คู่มือการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการ เพื่อมุ่งสู่ระบบมาตรฐาน มอก. 17025 (ISO/IEC 17025) ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยรังสิต. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.