- สื่อการเรียนรู้ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะด้วยเทคโนโลยี Augmented Reality (AR) กรณีศึกษานักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกวดวิชา IMaths&Robots child’s Lopburi -

Main Article Content

อรวรรณ แท่งทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อการเรียนรู้เรื่องดาวเคราะห์ในระบบสุริยะด้วยเทคโนโลยี Augmented Reality (AR) และ 2) ศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้สื่อการเรียนรู้ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะด้วยเทคโนโลยี Augmented Reality (AR) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกวดวิชา IMaths&Robots child’s Lopburi จำนวน 45 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ สื่อการเรียนรู้ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะด้วยเทคโนโลยี Augmented Reality (AR) ด้านฮาร์ดแวร์ (Hardware) ประกอบไปด้วย 1) โทรศัพท์มือถือ (Smartphone) ระบบปฏิบัติการ Android ตั้งแต่ Version 7.0 ขึ้นไปหรือระบบปฏิบัติการ IOS Version 10 ขึ้นไป 2) โปรแกรม Microsoft Office Word 2013 3) โปรแกรม HP Reveal 4) โปรแกรม Adobe Photoshop CS6 และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อการเรียนรู้ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะด้วยเทคโนโลยี Augmented Reality (AR) ทำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ เรื่องดาวเคราะห์ในระบบสุริยะและเพิ่มความสนใจในการเรียนมากยิ่งขึ้น และ 2) นักเรียนมี ความพึงพอใจต่อการใช้สื่อการเรียนรู้ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะด้วยเทคโนโลยี Augmented Reality (AR) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหาและด้านการจัดกิจกรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กิตตินันท์ แสงทอง. (2558). Augmented Reality. สืบค้นจาก https://kittinansangtong1.wordpress.com/ma
[2] สินีนาถ เพ็ญจำรัส. (2555). การพัฒนาระบบสร้างสื่อการสอนด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับครูผู้สอนวัยกลางคน. (ปัญหาพิเศษปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.
[3] ณัฐฐาน์ นิธิภัทร์มณีโชค, และจรัญ แสนราช. (2559). บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบหมุนเวียนโลหิต ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 2(2), 101-112.
[4] อัจฉริยะ เอี้ยวตระกูล. (2559). สื่อการสอน. สืบค้นจาก https://www.slideshare.net/AudchariyaIewtrakun/ss-67053986
[5] พรทิพย์ ปริยวาทิต และวิชัย นภาพงศ์. (2559). ผลของการใช้บทเรียน Augmented Reality Code เรื่องคำศัพท์ภาษาจีนพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 2 วัดตานีนรสโมสร. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 27(1), 9-17.
[6] Likert, Rensis. (1979). The Method of Constructing and Attitude Scale. Reading in Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.
[7] สุวิชัย พรรษา. (2561). การพัฒนาสื่อความเป็นจริงเสริมเพื่อการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ ศิลปะแม่ไม้มวยไทย. วารสารการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(2), 142-154.