การพัฒนาต้นแบบระบบควบคุมรถวีลแชร์อัตโนมัติด้วยสัญญาณสมอง และการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์

Main Article Content

วิโรจน์ บัวงาม

บทคัดย่อ

           งานวิจัยนี้เป็นการออกแบบและพัฒนาต้นแบบระบบควบคุมรถวีลแชร์อัตโนมัติด้วยสัญญาณสมองและการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ การออกแบบเป็นการวัดสัญญาณคลื่นสมองไฟฟ้าด้วยอุปกรณ์ Neurosky Mindset โดยใช้ไดร์เซนเซอร์วัดสัญญาณคลื่นสมองไฟฟ้าที่จุดเหนือคิ้วเทียบกับจุดอ้างอิง สัญญาณคลื่นสมองไฟฟ้าจากเซนเซอร์ถูกวิเคราะห์สัญญาณด้วยโปรแกรมแลบวิวด้วยการแปลงเวฟเล็ตไม่ต่อเนื่องระดับ 8 เพื่อแยกองค์ประกอบสัญญาณ แกมมา เบตา อัลฟา ธีตา เดลตา เพื่อคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์กำลัง และค่าอาร์เอมเอสของสัญญาณคลื่นสมองไฟฟ้าเพื่อตรวจสอบการกระพริบตาของผู้ควบคุม ในการควบคุมการเคลื่อนที่ของต้นแบบรถวีลแชร์ไฟฟ้านั้นจะใช้การกระพริบตาในการควบคุม


            การวิจัยพบว่า การควบคุมต้นแบบรถวีลแชร์ไฟฟ้าสามารถควบคุมด้วยคลื่นสัญญาณสมองโดยใช้การตรวจสอบการกระพริบตาจากผู้ควบคุม โดยสามารถควบคุมให้ต้นแบบรถวีลแชร์ไฟฟ้าสามารถเคลื่อนที่เดินหน้า ถอยหลัง เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา และหยุดได้ จากผลการวิจัยสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการควบคุมรถวีลแชร์ไฟฟ้า อุปกรณ์แจ้งเตือน และอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยไม่สามารถใช้กล้ามเนื้อสั่งงานอุปกรณ์เหล่านั้นได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] ภูริน หล้าเตจา และสุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย. (2554). สถาปัตยกรรมมนุษย์ล้อ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
[2] ธเนศ อังศุวัฒนากุล, เครือฟ้า ความหมั่น, จิราพร ทัพซ้าย และนุชนารถ สุวรรณขำ. (2555). เครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าสมองชนิดอัลฟา. ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย ครั้งที่ 4 (น.119-122), ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
[4] Vourvopoulos, A. & Liarokapis, F. (2014). Evaluation of commercial brain–computer interfaces in real and virtual world environment: A pilot study. Computers & Electrical Engineering, 40(2), 714-729.
[5] Yoshida, K. Hirai, F. & Miyaji, I. (2014). Learning System Using Simple Electroencephalograph Feedback Effect During Memory Work. Procedia Computer Science, 35, 1596-1604.
[6] Kathirvelan, J. Anilkumar, R. Alex, Z.C. & Fazul, A. (2012). Development of low cost automatic wheelchair controlled by oral commands using standalone controlling system. In 2012 IEEE International Conference on Computational Intelligence and Computing Research (pp.1 – 4). Coimbatore : IEEE. DOI : 10.1109/ICCCIC.2012.6510292.
[7] Sinha, U. & Kanthi, M. (2016). Mind Controlled Wheelchair. International Journal of Control Theory and Applications, 9(39), 19-28. DOI : 10.9790/1676-1203030913.
[8] Girase, P.G. & Deshmukh, M.P. (2016). Mindwave Device Wheelchair Control. International Journal of Science and Research (IJSR), 5(6), 2172-2176.