รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตามกรอบแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 สู่การจัดการศึกษา 4.0

Main Article Content

ธรัช อารีราษฎร์

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
เชิงนวัตกรรม สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตามกรอบแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 สู่การจัดการศึกษา 4.0  และ 2) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตามกรอบแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579
สู่การจัดการศึกษา 4.0  กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง สัมพันธ์กับสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 9 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
เชิงนวัตกรรม สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตามกรอบแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 สู่การจัดการศึกษา 4.0


            ผลการวิจัยพบว่า  1) รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตามกรอบแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 สู่การจัดการศึกษา 4.0 ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ 1.1) ส่วนนโยบาย  ประกอบด้วยกรอบแผนการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2560-2579  นโยบายประเทศไทย 4.0  และเศรษฐกิจดิจิทัล 1.2)  ส่วนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม ประกอบด้วยส่วนย่อย ได้แก่ 1.2.1) ส่วนกระบวนการ ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน 1.2.2) ส่วนหลักการที่นำเข้าสู่กระบวนการ ประกอบด้วย 3 หลักการ ประกอบด้วย 1.2.2.1) หลักการความคิดสร้างสรรค์  1.2.2.2) ประเภทนวัตกรรม  1.2.2.3) กรอบการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม  1.3)  ส่วนผลลัพธ์ ได้แก่ การจัดการศึกษา 4.0 โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ผู้เรียน จะต้องมีคุณลักษณะ
4 ประการ ตามกรอบศตวรรษที่ 21  และ 2) ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตามกรอบแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 สู่การจัดการศึกษา 4.0 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] พัชรี สุวรรณศรี และสุภัทณี เปี่ยมสุวรรณกิจ. (ม.ป.ป). สังคมกับเศรษฐกิจ. สืบค้นจาก https://www.baanjomyut.com/library/
global_community/03_1.html
[2] สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). ร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579). สืบค้นจาก http://www.nesdb.go.th/ewt_news.php?nid=6362&filename%20=index
[3] กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
[4] กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2579. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
[5] สุดปฐพี เวียงสี. (2559). รู้จักประเทศไทย 4.0 โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจใหม่. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/612666
[6] เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช, ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์, วุฒิชัย เนียมเทศ, และณัฐวิทย์ พจนตันติ. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(2), 208-222.
[7] วิทวัส ดวงภุมเมศ และวารีรัตน์ แก้วอุไร (2560). การจัดการเรียนรู้ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 11(2), 1-13.
[8] บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.