การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกเพื่อประกอบการเรียนรู้รายวิชา ส22101 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

Kanjana : วรรณทิภา ธรรมโชติ

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกเพื่อประกอบการเรียนรู้รายวิชา       ส22101 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้สื่อ โมชันกราฟิกเพื่อประกอบการเรียนรู้รายวิชา ส22101 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้สื่อโมชันกราฟิกเพื่อประกอบการเรียนรู้รายวิชา ส22101 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์       ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 17 คน ซึ่งได้มาโดยการการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) สื่อโมชันกราฟิกเพื่อประกอบการเรียนรู้รายวิชา ส22101 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อโมชันกราฟิกเพื่อประกอบการเรียนรู้รายวิชา ส22101 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง     พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติทดสอบค่าที (t-test)


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้สื่อโมชันกราฟิกเพื่อประกอบการเรียนรู้รายวิชา ส22101 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 10 ชุด ประกอบด้วย ชุดที่ 1 พุทธประวัติ ชุดที่ 2 พุทธสาวก พุทธสาวิกา ชุดที่ 3 ชาดก ชุดที่ 4 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ชุดที่ 5 พุทธศาสนสุภาษิต ชุดที่ 6 หน้าที่และมารยาทชาวพุทธ ชุดที่ 7 วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชุดที่ 8 ศาสนพิธี                 ชุดที่ 9 การบริหารจิตและการเจริญปัญญา และชุดที่ 10 พุทธศาสนากับการพัฒนา ที่มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.00/83.53 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้สื่อโมชันกราฟิก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังเรียนโดยใช้สื่อโมชันกราฟิก มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนใช้ และ 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนโดยใช้สื่อโมชันกราฟิก เรื่อง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักนายกรัฐมนตรี, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
[2] กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
[3] Piaget, J. (1970). Piaget’s Theory (G. Gellerier & J. Langer, Trans.). In: P.H. Mussen (Ed.), Carmichael’s Manual of Child Psychology (3rd ed). New York: Wiley.
[4] เบญจวรรณ จุปะมะตัง, และ ธวัชชัย สหพงษ์. (2560). การพัฒนาโมชันกราฟิก เรื่อง ตำนานพระธาตุขามแก่น. วารสารโครงงาน วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 3(2). 1-6.
[5] จงรัก เทศนา. (2560). อินโฟกราฟกส. สืบค้นจาก. http://www.krujongrak.com/infographics/
infographics_information.pdf.
[6] บุญชม ศรีสะอาด. (2559). การวิจัยสำหรับครู. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
[7] ทักษิณา สุขพัทธี, และทรงศรี สรณสถาพร. (2560). การศึกษาแนวทางในการออกแบบโมชั่นกราฟิกที่ส่งเสริมความสามารถใน
การเรียนรู้. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 12(1). 261-268.
[8] มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). วิธีวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
[9] เวชยันต์ ปั่นธรรม. (2560). การผลิตสื่อโมชันกราฟิกเรื่องระบบเสียงรอบทิศทาง 7.1 ชาแนล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.
[10] ปิยพงษ์ ราศรี. (2559). การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิก วิชาเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น สำหรับนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.
[11] ปาณิสรา ศิลาพล และกอบสุข คงมนัส. (2560). ผลการใช้อินโฟกราฟิกร่วมกับกระบวนการเรียนแบบสืบเสาะ ที่มีต่อความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences). 10(2). 185-194.
[12] สุโรทัย แสนจันทรแดง, และธวัชชัย สหพงษ์. (2558). การพัฒนาโมชันกราฟิก เรื่องการเลิกทาสในสมัยรัชกาลที่ 5.
ในการประชุมวิชาการระดับชาติ การจัดการเทคโนโลยีนวัตกรรม ครั้งที่ 2, น. 175-182. มหาสารคาม: คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.