การพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนงานจำหน่ายไฟฟ้า

Main Article Content

Peeraphong Pipatjessadakul

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนงานจำหน่ายไฟฟ้าด้วยเครื่องมือธุรกิจอัจฉริยะ และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบธุรกิจอัจฉริยะ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารในส่วนงานที่เกี่ยวข้องของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนงานจำหน่ายไฟฟ้า และแบบประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้งานระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนงานจำหน่ายไฟฟ้า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบธุรกิจอัจฉริยะสำหรับสนับสนุนงานจำหน่ายไฟฟ้าที่พัฒนาขึ้นสามารถนำเสนอข้อมูลจำหน่ายไฟฟ้า ประกอบด้วย 3 รายงานหลัก คือ รายงานด้านหน่วยจำหน่ายไฟฟ้า รายงานด้านใบแจ้งค่าไฟฟ้าคงค้าง และรายงานด้านสถิติงานจำหน่ายไฟฟ้า อีกทั้งยังสามารถเรียกดูข้อมูลรายงานผ่านระบบอินเทอร์เน็ตด้วยเว็บเบราว์เซอร์หรือโปรแกรมประยุกต์แท็บโบลว์ในสมาร์ตโฟน และ 2) ความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนงานจำหน่ายไฟฟ้าโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.86, S.D. = 0.66)


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] ณัฐวุฒิ พงศ์สิริ. (2560). HR Champion ผู้นำในยุคดิจิทัล Economy. HR Society Magazine Thailand, 15(172), 20.
[2] ปัทมา เที่ยงสมบุญ และนิเวศ จิระวิชิตชัย. (2561). การพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการพยากรณ์และการตัดสินใจ ของผู้บริหาร กรณีศึกษากลุ่มโรงพยาบาล. Veridian E-Journal, Science and Technology Silpakorn University, 5(4), 16-30. สืบค้นจาก www.tci-thaijo.org/index.php/VESTSU/article/view/148906
[3] Sen, & Soumya. (2015). An integrated approach to deploy data warehouse in business intelligence environment. In Third International Conference on Computer, Communication, Control and Information Technology (C3IT) (pp. 1-4). Hooghly, India.
[4] Tohir, A. S., Kusrini K. & Sudarmawan, S. (2017) On-Line Analytic Processing (OLAP) modeling for graduation data presentation. In 2017 2nd International Conferences on Information Technology, Information Systems and Electrical Engineering (ICITISEE) (pp. 132-135). Yogyakarta, Indonesia.
[5] วารุณี แต้มคู และกฤษณะ ไวยมัย. (2560). ชุดเครื่องมือโอเพนซอร์สระบบธุรกิจอัจฉริยะสำหรับธุรกิจการศึกษา. ใน การประชุม หาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8 (น. 380-389). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
[6] ธนพร ศรีสุพล ปราโมทย์ ตงฉิน และกรกรต เจริญผล. (2560). การพัฒนาระบบสารสนเทศการประปาหมู่บ้านบางจาน ตำบล
บางจาน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 3(1), 50-56.
[7] Diouf, P. S., Boly, A. & Ndiaye, S. (2018). Variety of data in the ETL processes in the cloud: State of the art. In 2018 IEEE International Conference on Innovative Research and Development (ICIRD) (pp. 1-5).
Bangkok, Thailand.
[8] Jayakody, J. & Perera, I. (2016). Enhancing competencies of less-able students to achieve learning outcomes: Learner aware tool support through Business intelligence. In 2016 IEEE International Conference on Teaching, Assessment, and Learning for Engineering (TALE) (pp. 154-160). Bangkok, Thailand.
[9] Naidoo, J. & Campbell, K. (2016). Extended abstract: Best practices for data visualization. In 2016 IEEE International Professional Communication Conference (IPCC) (pp. 1-3). TX, USA.
[10] Sharawi, L. I. & Sammour, G. (2017). Utilization of data visualization for knowledge discovery in modern logistic service companies. In 2017 Sensors Networks Smart and Emerging Technologies (SENSET) (pp. 1-4). Beirut, Lebanon.
[11] จักรกริช คำสม อภิชาติ เหล็กดี และธวัชชัย สหพงษ์. (2562). ระบบสารสนเทศเพื่อให้คำปรึกษาการทำวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา. วารสารวิชาการโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 5(1), 13-22