การพัฒนาระบบการเชื่อมต่องานทะเบียนผ่านสมาร์ตโฟน กรณีศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

Main Article Content

Supak Choeycharoen

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระบบบริหารการศึกษาของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 2) พัฒนาระบบบริหารการศึกษาให้เชื่อมต่องานทะเบียนผ่านสมาร์ตโฟน 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบบริหารการศึกษาของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กลุ่มตัวอย่าง คัดเลือกแบบเจาะจงจากประชากร จำนวน 50 คน ประกอบด้วย 1) นักเรียน วิทยาลัยนาฏศิลป ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 20 คน 2) นักศึกษา วิทยาลัย
นาฏศิลป ระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 20 คน  และ3) ครูและอาจารย์ วิทยาลัยนาฏศิลป จำนวน 10 คน  โดยเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจและเป็นผู้ดูแลนักเรียน นักศึกษาที่มีความเข้าใจทางด้านเทคโนโลยี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาระบบบริหารการศึกษาของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พบว่า เป็นระบบที่ใช้การจัดการศึกษาให้แก่นักเรียน นักศึกษา ครู และอาจารย์ ประกอบด้วย 1.1) ผู้ใช้งานทั่วไป เช่น นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ 1.2) ผู้จัดการระบบ 2) ผลการพัฒนาระบบบริหารการศึกษาให้เชื่อมต่องานทะเบียนผ่านสมาร์ตโฟน พบว่า ระบบบริหารการศึกษาให้เชื่อมต่องานทะเบียนผ่านสมาร์ตโฟน ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่
2.1) การรับสมัครเรียน 2.2) การลงทะเบียนเรียน 2.3) ข้อมูลข่าวสาร 2.4) การสืบค้นข้อมูลห้องสมุด และ
3) ความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อระบบบริหารการศึกษาของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ อยู่ในระดับดี (  = 3.91, S.D. = 0.19)


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] พระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (พ.ศ. 2550). (2550). ราชกิจจานุเบกษา, 124(32ก), 1-24.
[2] กนกวรรณ ภารสุคนธ์. (2554). ประสิทธิภาพการใช้งานระบบลงทะเบียนของมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.
[3] ปรัชญนันท์ นิลสุข ตวงรัตน์ ศรีวงษ์คล. (2550). การพัฒนาโปรแกรมการบริการข้อมูลสารสนเทศผ่านโทรศัพท์มือถือสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[4] พัชราภรณ์ ตัณฑพาทย์. (2554). ประสิทธิภาพของการใช้งานระบบทะเบียนนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.
[5] ศิวพร เลิศประเสริฐ. (2554). การพัฒนาระบบตรวจสอบผลการเรียนผ่านโทรศัพท์มือถือของนักเรียนโรงเรียนสตรีชัยภูมิ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, นครราชสีมา.
[6] อรวรรณ เสาร์คำน้อย. (2556). การพัฒนากระบวนการด้านการลงทะเบียน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
[7] สุนทร เกื้อกูล, และพยุง มีสัจ. (2546). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่องานทะเบียนของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[8] ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. (2551). ระเบียบวิธีวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เอ็กเปอร์เน็ท.
[9] พัชรี ดอกพุฒ. (2556). โทรศัพท์เพื่อการศึกษา. วารสารวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้, 6(2), 85-93.
[10] ศิริลักษณ์ ก้านทอง และสมพร กระออมแก้ว. (2559). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นคู่มือภาษาอาเซียนบนระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วารสารวิชาการโรงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2(1), 43-48