การพัฒนาสื่อดิจิทัลร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริม โดยอาศัยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ในรายวิชาคอมพิวเตอร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

จรินทร อุ่มไกร
ไกยสิทธิ์ อภิระติง

บทคัดย่อ

งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อดิจิทัลร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริม โดยอาศัย
การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD 2) หาประสิทธิภาพของการพัฒนาสื่อดิจิทัลร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ในรายวิชาคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนด้วยสื่อดิจิทัลร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริม และ 4) ศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้สื่อดิจิทัลร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริม กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเม่งฮั้วกงฮัก โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สื่อดิจิทัลร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริม แบบทดสอบ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test


              ผลการวิจัย พบว่า 1) สื่อดิจิทัลที่สร้างขึ้นร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริม มีองค์ประกอบด้านเนื้อหาและด้านเทคนิค คุณภาพบทเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.85 2) ประสิทธิภาพของสื่อดิจิทัลร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริม โดยอาศัยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD อยู่ตามเกณฑ์ที่กำหนด 92.70/87.48 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียน มีคะแนนหลังเรียนเพิ่มขึ้นกว่าก่อนเรียน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 26.24 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อสื่อดิจิทัลร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริม โดยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.79 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] อภิชาติ เหล็กดี, วรปภา อารีราษฎร์, และ ฐิติมา ผ่องแผ้ว. (2560). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่อเสมือนจริงเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิด. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, (4)2, 177-186.
[2] จิราภรณ์ ปกรณ์. (2561). เทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกแห่งความจริง. สืบค้นจาก. http://www.scimath.org/
article-technology/item/7755-ar-augmented-reality
[3] ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรีบนรู้ที่มีประสิทธิภาพของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนทุ่งสง. (พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.
[4] วิจารย์ พานิช. (2560). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ส.เจริญการพิมพ์.
[5] กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
[6] อนันต์นทัช แสงย้อย, และจิรพันธุ์ ศรีสมพันธุ์. (2560). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตร่วมกับการเรียนการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคสแตด วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏเพชรบุรีวิจัยเพื่อแผ่นดินไทยที่ยั่งยืน ครั้งที่ 7. น.381-389. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
[7] จิราภรณ์ แป้นสุข, อภิรัตน์ดา ทองแกมแก้ว, และนพเก้า ณ พัทลุง. (2558). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ. ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15. น.207-222. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
[8] จิรวัส นิลาภรณ์. (2559). การพัฒนาสื่อดิจิทัลเลิร์นนิ่งอ็อบเจกต์วิชาคณิตศาสตร์บนแท็บเล็ต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม). วารสารสักทองมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 22(1), 145-158.
[9] จันทมณี สระทองหน, และจรินทร อุ่มไกร. (2560). การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 แบบ TPACK MODEL โดย
การใช้การสอนแบบเสมือนจริง ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลกำแพงแสน. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. 3(2), 42-47.
[10] ธรรมจรรยา เรือนทองดี, และจรินทร อุ่มไกร. (2559). การพัฒนาบทเรียนการ์ตูนมัลติมีเดีย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education ในรายวิชาคอมพิวเตอร์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กรณีศึกษา โรงเรียนวัดจันทาราม (ตั้งตรงจิตร 5). วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2(2), 27-35.
[11] Branch, R.M. (2009). Instructional Design: The ADDIE Approach. New York: Springer.
[12] อภิสิทธิ์ ธงไชย. (2556). เทคโนโลยีและวิศวกรรม คืออะไรในสะเต็มศึกษา. นิตยสาร สสวท, 42(185), 35-37.
[13] Chaiyong Brahmawong. (2013). Developmental Testing of Media and Instructional. Silpakorn Educational Research Journal, 5(1), 7-19.
[14] Raweewat Sirban. (2010). Guidelines for Developing Instructions. Department of Curriculum and Instruction Development Journal, 2(11), 19 - 23.
[15] Anderson, L.w, & Krathwohl, D.R. 2001. A Taxonomy for Learning, Teaching, and Assessing: A Revision of Bloom's Taxonomy of Educational Objectives. New York: Longman.
[16] วาสนา ประวาลพฤกษ์. (2544). คู่มือการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาเรื่อง หลักการและเทคนิคการประเมินทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : เดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมเนจเม้นท์.
[17] Chatree Girdtham. (2017). Concepts of Learning Assessment and Evaluation. Retrieved, from http ://edu.vru.ac.th/sct/cheet%20downdload/6.pdf
[18] จรินทร อุ่มไกร. (2559). การพัฒนาสื่อการสอนออนไลน์โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาวิเคราะห์และออกแบบระบบแบบโครงงานผสมผสานกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค(GLT) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. ในการประชุมงานวิชาการระดับชาติ การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 2, น. 174-181. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[19] พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2557). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
[20] พิสุทธา อารีราษฎร์. (2551). การพัฒนาซอฟท์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[21] ณัฐกานต์ เทพบำรุง และจรินทร อุ่มไกร. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบ TPACK MODEL ด้วยเทคนิคความเป็นจริงเสริม
สามมิติ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านตอกสะเดา. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. 2(1), 29-35.
[22] ใจทิพย์ ณ สงขลา (2561). การออกแบบการเรียนแนวดิจิทัล. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
[23] Moonkham, Suwit & Moonkham, Orathai. (2002). 19 Methods of Learning Management for developing the Knowledge and Skill. (5 th ed). Bangkok: Parbpim.
[24] Pladprom, Attasit. (2006). Comparison of Learning Outcomes from the network lessons on Learning Career and Technology Group for Grade 4 students with different learning plans. (Master’ & Thesis). Maha Sarakham University, MahaSarakham.