นวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ขนมจีนอบแห้งสมุนไพร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษานวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์ขนมจีนอบแห้งสมุนไพร 2) เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ขนมจีนอบแห้งสมุนไพร และ 3) ศึกษาความพึงใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ขนมจีนอบแห้งสมุนไพร กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้บริโภคขนมจีนอบแห้งของร้านขนมจีนอบแห้งน้องเพียงฟ้า
ที่จำหน่ายผ่านช่องทางการจำหน่ายทั้งระบบออนไลน์และออฟไลน์ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม – ตุลาคม 2562 คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายด้วยวิธีเจาะจง จำนวน 30 ราย เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) ผลิตภัณฑ์ขนมจีนอบแห้งสมุนไพร 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ขนมจีนอบแห้งสมุนไพร สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษานวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์ขนมจีนอบแห้งสมุนไพร ด้วยการใช้วิธีอบแห้งในตู้อบแบบถาด ประกอบด้วยถาดเตี้ย ๆ ที่มีช่องตาข่ายอยู่ด้านล่างและบุเครื่องด้วยฉนวน ในแต่ละถาดจะบรรจุเส้นขนมจีน อากาศร้อนไหลหมุนเวียนอยู่ในตู้ ที่ความเร็วลม 0.5-5 เมตร/วินาทีต่อตารางเมตร ของพื้นที่ผิวของถาด มีระบบท่อหรือแบฟเฟิล เพื่อนำลมร้อนขึ้นไปด้านบนผ่านแต่ละถาดเพื่อให้ลมร้อนกระจายอย่างสม่ำเสมอ 2) การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ขนมจีนอบแห้งสมุนไพร พบว่า พืชสมุนไพรที่นำมาสกัดเป็นส่วนผสมขนมจีนมี 7 ชนิด ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ อัญชัน ใบเตย แตงโม ฟักทอง แคร์รอต ข้าวกล้อง และได้สีทั้งหมด 8 คือ ข้าวหอมมะลิ = สีขาวธรรมชาติ อัญชัน = สีฟ้า อัญชัน+มะนาว = สีมวง ใบเตย = สีเขียน แตงโม = สีชมพู ฟักทอง = สีเหลือง แคร์รอต = สีส้ม และข้าวกล้อง = สีน้ำตาล เพื่อให้ได้เส้นขนมจีนที่สีสวย เส้นเรียงตัวสวยงามได้มีการทดสอบระยะเวลาและอุณหภูมิที่พอเหมาะในอัตราส่วน แป้งข้าวเจ้า 85% แป้งมัน 5% สมุนไพร 5% และน้ำเปล่า 5% ระยะเวลาในการทำแห้งคือ พักไว้ประมาณ 4 ชั่วโมง แล้วนำไปตากแดด อีก 3 ชั่วโมง เข้าเครื่องอบแห้งที่อุณหภูมิ 45 องศา อีกประมาณ 5 ชั่วโมง และ 3) ความพึงใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ขนมจีนอบแห้งสมุนไพร พบว่า ผู้บริโภคที่ได้บริโภคขนมจีนอบแห้งแล้วมีความพึงใจต่อผลิตภัณฑ์ขนมจีนอบแห้งโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
ความร้อน. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. 35(2), 269-283.
[2] กุณฑิกา เวชกลาง, สุภาพร สายหล้า, วิริยา ปัตตาลาโพธิ์, เพลงพิณ เพียรภูมิพงศ์, และภราดร หนูทอง. (2559). ผลกระทบ ของการอบแห้งด้วยอินฟราเรดตามด้วยลมร้อนที่มีต่อคุณภาพขนมจีน. ใน การประชุมวิชาการเครือข่าย วิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 30, น. 730-736. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
[3] สมบัติ นามบุรี. (2562). นวัตกรรมและการบริหารจัดการ. วารสารวิจยวิชาการ, 2(2), 121-134.
[4] วิไล รังสาดทอง. (2557). เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตรอาหารและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[5] สุคนธ์ชื่น ศรีงาม. (2539). กระบวนการทำแห้งอาหาร. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
[6] จารุพรรณ ใบนาค, รัตนาพร วงค์ภักดี, และ อโนชา สุขสมบูรณ์. (2558). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมจีนอบแห้งผสมข้าวไรซ์เบอรี่. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 46(3) (พิเศษ), 361-364.
[7] วิภาณี บุญเหลี่ยม. (2562). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมจีนเส้นสดรสแกงเขียวหวาน. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 29(1), 22-26.
[8] บุญธง วสุริย์, จุฑาศินี พรพุทธศรี, และธานิล ม่วงพูล. (2561). ระบบควบคุมตู้อบแห้งด้วยเจลกักเก็บความร้อนแบบอัตโนมัติ. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 4(2), 66-73.