การพัฒนาสื่อออนไลน์เพื่อเสริมทักษะการสอบภาษาอังกฤษ RMUTSV Test

Main Article Content

สุพัชชา คงเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาสื่อออนไลน์เพื่อเสริมทักษะการสอบภาษาอังกฤษ RMUTSV Test 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการสอบภาษาอังกฤษ RMUTSV Test และ 3) เพื่อประเมินความ       พึงพอใจและข้อคิดเห็นที่มีต่อสื่อออนไลน์เพื่อเสริมทักษะการสอบภาษาอังกฤษ RMUTSV Test กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  นักศึกษาชั้นปีสุดท้าย วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) สื่อออนไลน์เพื่อเสริมทักษะการสอบภาษาอังกฤษ RMUTSV Test 2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อออนไลน์เพื่อเสริมทักษะการสอบภาษาอังกฤษ RMUTSV Test สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินคุณภาพสื่อออนไลน์ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าสื่อออนไลน์เพื่อเสริมทักษะการสอบภาษาอังกฤษ RMUTSV Test มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.87 2) ผลการพัฒนาการสอบภาษาอังกฤษ RMUTSV Test มีผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อออนไลน์เพื่อเสริมทักษะการสอบภาษาอังกฤษ RMUTSV Test พบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.11

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] ปรัชญนันท์ นิลสุข. (2547). อีเลิร์นนิ่ง (e-Learning). วารสารวิทยบริการ, 15(2-3), 1-2.
[2] ภูวญา กฤษฎาธนกิตติ์. การบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดอุบลราชธานี. (รายงานวิจัย). วิทยาลัยอาชีวศึกษาโปลีเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, อุบลราชธานี.
[3] ศยามล อินสะอาด. (2561). การออกแบบบทเรียน e-Learning เพื่อพัฒนาทักษะขั้นสูง. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
[4] อาณัติ รัตนถิรกุล. (2553). สร้างระบบ e-Learning ด้วย Moodle ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
[5] วัฒนา เชี่ยวสุวรรณ. (2550). การศึกษาเพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการรายวิชาสำหรับบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(2), 117-125.
[6] ชัยวัฒน์ จิวพานิชย์ และชัยวัฒน์ วารี. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการสร้างบทเรียนออนไลน์ โดยใช้ LMS Moodle เพื่อการเตรียมความพร้อมในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, กรุงเทพฯ.
[7] สมบัติ ศิริจันดา, อำนาจ หังสา, ศราวุธ วิลามาศ และนารี สุวรรณะ. (2557). พัฒนาบทเรียนวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร เรื่อง การอ่านผ่านระบบ Learning Management System (LMS). (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, กรุงเทพฯ.
[8] นฤมล พึ่งแก้ว. (2561). การใช้โปรแกรม Moodle E-Learning ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน นักศึกษาชั้นปีที่ 1. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้และสิ่งประดิษฐ์ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2561 (น 65-78). ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
[9] จำลอง จำปากุล และคณะ. (2559). การพัฒนาระบบบริหารจัดการเรียนการสอน วิชาพื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เรื่องการเขียนผังงาน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ . ใน การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 2 (น 56-64). จังหวัดมหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
[10] ยุทธ ไกยวรรณ์. (2545). พื้นฐานการวิจัย ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.