การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับขนส่งผลิตผลทางการเกษตร สู่ตลาดชุมชนโดยใช้วิธีการเชิงพันธุกรรม

Main Article Content

Thanin Muangpool
อภินันท์ จุ่นกรณ์
ภรัณยา ปาลวิสุทธิ์
มงคล รอดจันทร์

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจส่งผลิตผลทางการเกษตรสู่ตลาดชุมชนโดยใช้วิธีการเชิงพันธุกรรม และ 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพการใช้งานระบบ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบและกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้งาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจส่งผลิตผลทางการเกษตรสู่ตลาดชุมชนโดยใช้วิธีการเชิงพันธุกรรม และแบบประเมินประสิทธิภาพของระบบ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
     ผลการวิจัย พบว่าระบบสนับสนุนการตัดสินใจส่งผลิตผลทางการเกษตรสู่ตลาดชุมชนโดยใช้วิธีการเชิงพันธุกรรม สามารถแสดงผลได้ทั้งคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอุปกรณ์พกพา การทำงานของระบบแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ เว็บแอปพลิเคชันด้าน Front-End และเว็บแอปพลิเคชันด้าน Back-End และการประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยกลุ่มเป้าหมายจำนวน 25 คน ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ( x ̅= 4.33, SD = 0.66)

Article Details

How to Cite
Muangpool, T., จุ่นกรณ์ อ., ปาลวิสุทธิ์ ภ., & รอดจันทร์ ม. (2020). การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับขนส่งผลิตผลทางการเกษตร สู่ตลาดชุมชนโดยใช้วิธีการเชิงพันธุกรรม. วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ", 6(1), 29–37. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/240339
บท
บทความวิชาการ

References

[1] มณิสรา บารมีชัย และบุศรินทร์ ศรีสตรียานนท์. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนการขนส่งสินค้า. กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม.
[2] ปลูกอะไรขายดี แล้วจะเอาไปขายใคร ตั้งเป้าตลาดก่อนแล้วค่อยปลูก. (2558). สืบค้นจาก: http://www.ขายอะไรดี.com/ 2015/02/11/industrial-drop
[3] ไพศาล ช่วงฉ่ำ. (2560). เรื่องเล่าจากดงหลวง 85 ตลาดชุมชน (3) สิ่งที่ไม่คาดคิด. สืบค้นจาก: https://www.gotoknow.org/ posts/93498
[4] กิตติ ภักดีวัฒนะกุล. (2546). คัมภีร์ระบบสนับสนุนการตัดสินใจและระบบผู้เชี่ยวชาญ. นนทบุรี: บริษัท เอ-บุ๊ค ดิสทริบิวชั่น จำกัด.
[5] ธนภณ บุญแสนพล. (2557). การประยุกต์ใช้ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรมในการกำหนดกำลังทางเรือ กรณีศึกษา: ภารกิจการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุกิจบัณฑิต, กรุงเทพฯ.
[6] ธฤต รัตนมณี. (2554). การพัฒนาฮิวริสติกส์บนพื้นฐานของอัลกอริทึมเชิงพันธุกรรมสำหรับการจัดเส้นทางรถขนส่งกรณีมีรถขนส่งหลายขนาดแบบหลายช่องบรรจุและหลายผลิตภัณฑ์ของการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.
[7] นพรุจ สังข์แป้น. (2556). การประยุต์ใช้วิธีการเชิงพันธุกรรมสำหรับปัญหาเส้นทางการขนส่งของโรงกำจัดซากไก่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
[8] ธานิล ม่วงพูล, อวยไชย อินทรสมบัติ และฐาปกรณ์ เทศทอง. (2560). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อยืนยันการออกตรวจของตำรวจสายตรวจ ณ ตำแหน่งตู้แดง แบบออนไลน์. ใน การประชุมวิชาการระดับนานาชาติและระดับชาติด้านด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศประยุกต์ และการประชุมวิชาการด้านบริหารธุรกิจ ครั้งที่ 11 (น.163). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก.
[9] Tan, K.C., Lee, L.H. and Ou, K. (2001). Artificial intelligence heuristics in solving vehicle routing problems with time window constraints. Engineering Applications of Artificial Intelligence. 14(6), 825–837.
[10] Barrie M. Baker and M.A. Ayechew. (2003). A genetic algorithm for the vehicle routing problem. Computers & Operations Research. 30(5), 787–800.
[11] ไพจิตร อุปถัมภ์. (2556). การศึกษาเส้นทางที่เหมาะสมในการจัดเก็บขยะ : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา.
[12] พศวีร์ ตรีวิเศษ, ชวิศร ปูคะภาค, ภาคย์ สธนเสาวภาคย์ และศวดล กัญญาคำ. (2554). รูปแบบการจัดการขนส่งโดยการประยุกต์ใช้ ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม: กรณีศึกษา บริษัทขายวัสดุก่อสร้าง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(2), 131-138.
[13] ศุภพัชร พวงแก้ว (2553). วิธีการเชิงพันธุ์กรรมสำหรับปัญหาการจัดเส้นทางเดินรถเก็บขยะตามครัวเรือนโดยใช้คนงานในการจัดเก็บ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.
[14] Srinivas Nidhra. Black Box and White Box Testing Techniques - A Literature Review. International Journal of Embedded Systems and Applications 2. 2012(2), 29–50.
[15] วรปภา อารีราษฎร์. (2557). นวัตกรรมระบบการจัดกลุ่มสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, กรุงเทพฯ.
[16] วรนิตย์ ทองอยู่, กริช สมกันธา และวิไลพร กุลตังวัฒนา. (2561). ระบบชาญฉลาดวางแผนเส้นทางอัตโนมัติโดยขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรมออนไลน์. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 28(4), 789-798.